“Every man for himself, every karma for himself…then how will we live?”

No one can design his own life entirely
February 24, 2020
“Questions and Answers, Volume 32”
February 24, 2020

“Every man for himself, every karma for himself…then how will we live?”

by Master Acharavadee Wongsakon

(Please find Thai version below)

I have received a question on interesting issue and saw that it should be written as a clear idea because in the society of Dhamma, people are being led to the fear of karma and it becomes every man for himself, they tend to abandon their duties and appropriate actions.

My student asked me that while she was stuck in her work but someone urged her to help him first, she thought that it was not the right time and that it was not correct and therefore, said that she would have to finish her work first and then she would help him. Then she was urged again to the point that she had to help but with resentful mind. The question is what she had done is correct or not?

If it were you, what would you think?

My answer is “Correctness is supreme in the worldly rules but mercy is above everything.”

Those with pure heart can be kind to both friends and enemies, to both doers and victims. If you have practiced your mind, you will have compassion to take the time to help him. But before helping, you have to explain to him that this time is actually not the right time. But seeing him in trouble, you will help with compassion.

Another question is that when we see the wrong behavior in society and it is already spread in social media, should we criticize for righteousness in society? The answer from the person who was asked is that whoever wants to do and say anything, it is his karma but if we criticize or retort him, that is our karma.

In truth, there are interesting details in the answer, both accurate and inaccurate. But there was someone brought this answer to me again as he had doubt and conflict in his heart. So, I would like to share my view that when people see the improper behavior of other people in society, then they react to preserve righteousness, it is considered proper. Otherwise, it will be negligence.

The words “letting go” and “negligence” are always misused. Many people are not clear in the meaning of unattached mind then it leads to negligence. Any opinions on social media or other forms can be expressed but must be considered carefully. Don’t follow social trends. Don’t let your mind be biased. Just keep in mind that it is only for maintaining righteousness. If we stick to the principle that whoever does anything is all about him, we just have to care about our matters, then the society cannot survive. Knowing what is right or wrong based on fundamental of morality and ethics, we must support the well-doers and help stop and correct the wrong behavior, not just float along.

The world continues to get worse because of negligence. People are not brave enough to do the right thing and afraid of bad karma but they cannot even keep the five precepts. The saying that “It’s every man for himself, we just take care of ourselves” must be carefully considered because they are both true and deceiving, useful and harmful. They must be understood clearly that it’s a matter of practicing the mind, not to add more flavor. We can help keep righteousness and solve the problems for peaceful coexistence in society. At the same time, we will have the opportunity to create merit and resolve the knot in our minds.

Master Acharavadee Wongsakon

Source: Selected from Master’s teaching “Every man for himself, every karma for himself…then how will we live?”, January 14, 2016.

 

Quote 

If we stick to the principle that whoever does anything is all about him, we just have to care about our matters, then the society cannot survive. Knowing what is right or wrong based on fundamental of morality and ethics, we must support the well-doers and help stop and correct the wrong behavior, not just float along.

Translated by Nilobon Waiyaworn

 

“ตัวใครตัวมัน กรรมใครกรรมมัน…แล้วจะอยู่กันอย่างไร?”

อาจารย์ได้รับคำถามในประเด็นที่น่าสนใจ และเห็นว่าควรนำมาเขียนเป็นข้อคิดให้เกิดความกระจ่าง เพราะสังคมของคนธรรมะกำลังถูกชี้นำไปสู่ความกลัวเวรกรรมจนกลายเป็นวิถีตัวใครตัวมัน นำไปสู่ความปล่อยปละละเลยจากหน้าที่และสิ่งที่พึงกระทำ

มีศิษย์ถามว่า ขณะที่ตนกำลังติดงานอื่นอยู่ แต่มีคนผู้หนึ่งมาคะยั้นคะยอให้ช่วยงานเขาก่อน ศิษย์เห็นว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะและมันไม่ถูกต้อง จึงไม่ช่วย โดยบอกว่าไว้รอให้ทำงานเสร็จก่อนแล้วจึงช่วย แต่ก็ยังถูกคะยั้นคะยอต่อไปจนจำใจช่วยแต่ก็มีจิตขุ่นเคือง คำถามคือ สิ่งที่เธอทำลงไปนั้น ถูกต้องหรือไม่

ลองตอบดูสิว่า หากเป็นเราจะคิดยังไง

คำตอบของอาจารย์คือ “ความถูกต้องอยู่เหนือที่สุดในกฎทางโลก แต่ความเมตตาอยู่เหนือทุกสิ่ง”

ผู้มีจิตบริสุทธิ์จึงเมตตาได้ทั้งมิตรและศัตรู ทั้งต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ หากเราฝึกจิตได้ก็สามารถปลีกเวลาทำให้เขาได้ด้วยจิตเมตตา แต่เมื่อก่อนจะทำให้ก็ต้องสอนหรืออธิบายให้เขาฟังก่อนว่า จริงๆ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะทำให้ได้ แต่เห็นคุณเดือดร้อนวุ่นวายใจมากก็จะเมตตาทำให้

อีกกรณีหนึ่งก็คือ เป็นคำถามในเชิงว่า เมื่อเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องในสังคมและเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียแล้ว เราสมควรไปวิพากษ์วิจารณ์เพื่อรักษาความถูกต้องในสังคมหรือไม่…ได้มีคำตอบจากท่านผู้ถูกถามในเชิงว่า ใครจะทำอะไร จะพูดอะไร นั่นเป็นกรรมของเขา แต่ถ้าเราวิจารณ์เขาโต้ตอบเขา นั่นเป็นกรรมของเรา

อันที่จริงคำตอบมีรายละเอียดที่น่าสนใจทั้งที่เที่ยงและไม่เที่ยงอยู่ในนั้น แต่มีผู้นำคำตอบนั้นมาถามอาจารย์อีกต่อด้วยความสงสัยและรู้สึกขัดแย้งในใจ อาจารย์ก็เลยขอแจงในทรรศนะเพื่อให้พิจารณาว่า การที่คนในสังคมเห็นการกระทำที่ไม่ชอบ แล้วมีปฏิกริยาเพื่อรักษาความชอบธรรมก็เป็นสิ่งที่ชอบ มิฉะนั้นจะเป็นการปล่อยปละละเลย

คำว่า “ปล่อยวาง กับ ปล่อยปละละเลย” เป็นสิ่งที่คนนำไปใช้ผิดกันมาก คือแยกไม่ขาดระหว่างปล่อยวางจิตไม่ให้ติดข้อง แต่ขณะเดียวกันก็ไปสับสนและชี้นำไปในทางของการปล่อยปละละเลยเช่นกัน การแสดงความเห็นใด ๆ ทางโซเชียลมีเดียหรือรูปแบบต่าง ๆ นั้นแสดงได้ แต่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน อย่าทำไปตามกระแสสังคม อย่าให้จิตเกิดความลำเอียงและอคติ ให้ทำด้วยจิตที่หมายรักษาธรรมเท่านั้น หากเรายึดหลักว่า ใครทำอะไรก็เรื่องของเขา รักษาเรื่องของเราให้ดี ถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมอยู่ไม่ได้ เมื่อรู้ด้วยบรรทัดฐานว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิดด้วยมีศีลและจริยธรรมเป็นพื้นฐาน เราก็ต้องส่งเสริมผู้ทำดีและช่วยยับยั้งและแก้ไขสิ่งที่ผิด ไม่ใช่อาศัยวิชาลอยตัวอย่างเดียว

ที่โลกเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ ก็เกิดจากการปล่อยปละละเลย ไม่กล้าหาญมาทำในสิ่งที่ถูกต้อง และมัวแต่กลัวเวรกรรม แต่ศีลห้ายังไม่มีปัญญาจะรักษาให้ได้ คำพูดที่ว่า “ชั่วดีเรื่องของเขา เรื่องของเรารักษาให้ดี” คำเช่นนี้ต้องระวังให้ดี เพราะมีทั้งจริง ลวง คุณและโทษอยู่ในนั้น คำ ๆ นี้ ต้องเข้าใจให้แจ้งว่า เป็นเรื่องของการฝึกวางจิต ไม่ไปเพิ่มสังขารการปรุงแต่งต่อ แต่ในการอยู่ร่วมกันในสังคม หากเราสามารถช่วยรักษาความถูกต้องเที่ยงตรงให้เกิดขึ้น และต้องช่วยกันแก้ไข สังคมจึงอยู่ได้ เราก็ได้มีโอกาสสร้างบารมี และได้แก้ไขสิ่งที่เป็นปมอยู่ในใจ

อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

ที่มา : คัดจากคำสอน “ตัวใครตัวมัน กรรมใครกรรมมัน…แล้วจะอยู่กันอย่างไร?” 14 มกราคม 2559

 

คำโควต

หากเรายึดหลักว่า ใครทำอะไรก็เรื่องของเขา รักษาเรื่องของเราให้ดี ถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมอยู่ไม่ได้ เมื่อรู้ด้วยบรรทัดฐานว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิดด้วยมีศีลและจริยธรรมเป็นพื้นฐาน เราก็ต้องส่งเสริมผู้ทำดีและช่วยยับยั้งและแก้ไขสิ่งที่ผิด ไม่ใช่อาศัยวิชาลอยตัวอย่างเดียว

 

Discover more from The Buddhists News

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

The Buddhist News

FREE
VIEW