|
by Master Acharavadee Wongsakon
(Please find Thai version below)
Answer: You have to ask yourself; did you try to practice hard enough? Or you just think that you practiced enough? You should consider what you are lacking, both when you are meditating and not meditating. Also lead your mind to think of the Dhamma teaching about Causes and Effects that whatever you did in the past, you will get the results of your own actions. If the results did not appear as you wish, you will have to keep working on collecting and gaining your perfections. Do not think only in your own favor. When some people advance in their practice fast, it is because they already did good deeds enough in the past. Once they found the right path, this supports them to advance so fast. To stop in the middle of the way or be discouraged is because of the impurities (Kilesa) inside your mind. And it is a test to prove your mind firmness. Do not think in your favor and be fair to Dhamma.
Answer: You have to be honest and truthful to yourself. Being truthful is one of the things to complete your perfection and directly fix your discipline. Because no matter what you want to teach or tell yourself in other ways, there will always be excuses. But if you make a vow, it will help improve your discipline. Before making a vow, you must first set your intention firmly. If you think you can do, only then you make a vow, so you will lose your perfection. For example, if you are not sure that you can meditate every day, you can set your intention to do it 5 days per week. Then when you see that you can meditate everyday already, make a vow for that. Perfection of Vow is the perfection that can easily be tested. If you can pass this test then your mind will be much more firm and able to gain higher perfections because it will support to complete the other perfections, such as patience, effort, equanimity and wisdom.
For any questions that you may have regarding your meditation path or life issues that you would like to receive the answers to solve your problems and give you morale to move on. Please send your questions to the email, Napalada.Suriyunt@hotmail.com
Translator: Wassana Sasakun
เคล็ดวิธีตีปัญหา ฉบับที่ 32
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
ตอบ ก็ต้องถามตัวเองว่า พากเพียรมาพอแล้วจริงหรือ หรือได้เพียงคิดว่าทำมากแล้ว และพิจารณาหาข้อบกพร่องของตัวเอง ทั้งในยามไม่ได้ภาวนาและในยามภาวนา อีกทั้งให้น้อมจิตคิดถึงหลักธรรมว่า บุคคลเมื่อสร้างเหตุไว้เช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น หากผลยังไม่ได้ในแบบที่ตนหวัง ก็ต้องสะสมสร้างบารมีต่อไป ต้องไม่คิดเข้าข้างตัวเอง คนที่ปฏิบัติแล้วก้าวหน้าเร็วมาก ก็แสดงว่าเขาทำเหตุไว้ดีแล้ว บางคนทำไว้ดีพร้อมตั้งแต่อดีตชาติ เมื่อมาพบทางที่หนุนส่งก็ไปได้เร็วเลย การท้อถอยกลางคันหรือคิดน้อยเนื้อต่ำใจ นี่ก็กิเลสและเป็นการถูกทดสอบความหนักแน่นมั่นคงในจิตใจทั้งสิ้น ต้องไม่คิดเข้าข้างตัวเอง ต้องให้ความเป็นธรรมกับธรรมะด้วย
ตอบ ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง ต้องมีสัจจะ การสร้างบารมีจึงมีข้อสัจจะ สัจจะข้อนี้จะแก้เรื่องการรักษาวินัยในการภาวนาตรงตัว เพราะไม่ว่าจะคิดสอนตัวเองด้วยวิธีอื่นใด ก็มักจะมีข้ออ้างไปได้ตลอด แต่ถ้าตั้งเป็นสัจจะนี่คือจะช่วยวางกรอบให้ตัวเองได้ แต่ก่อนที่จะตั้งสัจจะ ให้ตั้งใจมั่นที่จะทำก่อน หากเห็นว่าทำได้แล้วจึงค่อยตั้งสัจจะ จะได้ไม่เสียบารมี เช่น หากไม่แน่ใจว่าจะภาวนาได้ทุกวัน ก็ให้ตั้งใจมั่นว่าจะทำให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์ เมื่อเห็นว่าทำได้แล้วก็ให้ตั้งเป็นสัจจะไปเลย สัจจะเป็นบารมีที่จะถูกทดสอบง่ายที่สุด หากผ่านข้อนี้ไปได้จิตใจจะหนักแน่นขึ้น และได้สะสมบารมีได้สูงมาก เพราะจะเสริมบารมีข้ออื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นขันติบารมี วิริยบารมี อุเบกขาบารมี ปัญญาบารมี
ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่เกี่ยวกับปัญหาชีวิต ปัญหาแนวทางการออกปฏิบัติธรรมหรือความทุกข์ใจที่มีต่อลูกหลาน และท่านปรารถนาจะได้พบกับคำตอบที่ทำให้ท่านเกิดความกระจ่าง มีกำลังใจในการก้าวเดินต่อไป ส่งปัญหาของท่านมาที่อีเมล: napalada. Suriyunt@hotmail.com