|
by Master Acharavadee Wongsakon
(Please find Thai version below)
Wrong understanding or false view is very dangerous to mankind. Once it is formed, our intention and followings actions will go wrong. Unwholesome is intentionally committed without knowing that it is wrong. As a result, doors to heaven or nibbana is closed.
According to Abhidammattha – Sangaha, the worst false view is Niyata-micchaditthi while others are common. Three types of Niyata-micchaditthi are:
Those who have Niyata-micchaditthi will certainly be born in hell. Buddha’s blessing cannot successfully rescue them though.
The cause of Micchaditthi, consists of Belief of story by word of mouth Ayonisomanasikara or non-critical consideration
The cause of false view seems immaterial but had severe impact to life.
A story of Trojan Horse is a real example of Ayonisomanasikara. Troy, a great ancient city, was collapsed simply due to the lack of careful consideration (Yonisomanasikara).
Trojan Horse in brief
After a fruitless 10-year siege, the Greeks constructed a huge wooden horse, and hid Odysseus and a select force of men inside. The Greeks pretended to sail away. Odysseus’s plan called for one man to remain outside the horse; Sinon would act as though the Greeks had abandoned him, leaving the horse as a gift for the Trojans and this offering to the goddess Athena. This fooled the Trojans into pulling the horse into their city as a victory trophy. That night the Greek force crept out of the horse and opened the gates for the rest of the Greek army, which had sailed back under cover of night. The Greeks entered and destroyed the city of Troy, ending the war.
The great people of Troy had become a slave because they thought the huge wooden horse would bring luck to them. This is Ayonisomanasikara.
There is a rapid flood of information over social media. We can easily form false view if we lack of careful consideration. Common false view includes the disbelief in virtue (sila), cause-effect (karma), and gratitude. The delay of effect from karma misleads people to think that karma does not exist and disbelieve in cause-effect. Their strong and stable belief in good and gratitude to parents, teachers, nation, religion and monarchy has been shaken and decreasing. Cheating is everywhere. Negligence of considerate behaving to benefactors leads to ungratefulness, nitpicking the virtuous persons with bias.
It is similar to situation where I was destroyed with a nitpicking photo of monks acknowledging my respect by instantly ‘wai’ – paying respect back to me. Those monks are my vipassana students since their householder and get used to pay respect to teacher, forgetting their monkhood status.
Malicious persons intentionally use the photo to discredit and destroy me without mentioning goodness done for maintaining and dispersing Buddhism. Those who hear and believe the story without careful consideration would unfortunately commit a severe unwholesomeness.
The consequence of not having careful consideration is extremely severe. Be mindful of false view at all time. May all be saved from slavery due to lack of careful consideration.
“Consider, greatly consider” taught Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi).
Vipassana Master Acharavadee Wongsakon
6 April 2018
Beware of Mishap
Human, full of defilement, can be apperceptive.
As long as Arhant is not attained, breaking precept is still possible.
It is a sensibly logical without doubt.
Without careful consideration, it is likely to form Micchaditthi.
Micchaditthi is caused by apparently small matters:
One is listening and believing stories by word of mouth, another is Ayonisonamasikara.
All good deed persistently conducted for the whole life would be in jeopardy just because of being unaware of Miccaditthi.
Vipassana Master Acharavadee Wongsakon
Translator: Peeraphong Chearanai
“ระวังพลาด” Beware of Mishap
ภัยที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดแก่มนุษย์ คือ มิจฉาทิฐิ หรือการเห็นผิดทำนองคลองธรรม
เมื่อเห็นผิดก็ตั้งเจตนาผิด และนำไปสู่การทำผิด ก่อเกิดอกุศลกรรมอย่างเลวร้าย ไปจนห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน เพราะมุ่งหน้าเดินทางตรงกันข้ามกับทางสายเอก
ขอยกความโดยย่อที่อ้างจากพระอภิธรรมมัตสังคะ มิจฉาทิฐที่ส่งผลร้ายที่สุด คือ
“นิยตมิจฉาทิฏฐิ” หรือท่านเรียก มิจฉาทิฐิอย่างหยาบ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่นนั้น เป็นทิฏฐิสามัญ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐฺ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้นย่อมไม่มี ความเห็นผิดชนิดนี้เช่น สัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีก การให้ทานไม่มีผลการทำดีทำชั่วก็ไม่ต้องรับผลสัตว์นรก เปรต เทวดา ไม่มีสมณะพราหมฌ์ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่มี กล่าวคือ ปฏิเสธการส่งผล
๒. อเหตุกทิฏฐิ เป็นการปฏิเสธการมีเหตุ คือไม่เชื่อว่า สัตว์หรือบุคคลจะดีหรือไม่ดี มีความทุกข์ยาก หรือสุขสบาย ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเหตุที่ทำไว้
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทำใดๆ ทำไปแล้วก็ไม่ต้องรับผล จะฆ่าเข่นฆ่าทำบาปกรรมอย่างไร ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ ก็ไม่ส่งผลเป็นบุญหรือบาปแต่ย่างใด
มิจฉาทิฐิอย่างหยาบนี้ สามารถส่งผล ให้เกิดใน “นิรยภูมิ” อย่างแน่นอน แม้พระพุทธองค์ก็โปรดไม่สำเร็จ
สิ่งที่น่ากลัวมากก็คือ เหตุที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฐิ มาจากเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพลาด นี่คือชีวิตพินาศอัปปางเลยทีเดียวเหตุนั้นคือ
การอโยนิโสมนสิการ เคยทำให้กรุงทรอยอันเกรียงไกร ล่มสลายจนชาวกรุงทรอยที่เคยยิ่งใหญ่ ต้องตกอยู่ในสภาพทาสดังเรื่องม้าไม้กรุงทรอยหรือ Trojan Horse
โดยในครั้งนั้น เมื่อกองทัพกรีกพยายามตีกรุงทอยมายาวนาน 10 ปีก็ไม่สำเร็จ เพราะกรุงทรอยมีกำแพงเมืองที่สูงและแข็งแกร่ง ยากที่จะทำลายได้ ในที่สุดกองทัพกรีกก็คิดยุทธสำคัญขึ้นมาได้ โดยทำม้าไม้ขนาดมหึมา ที่ภายในสามารถมีคนนับสิบเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในนั้น โดยมีโอดิสซุส และกษัตริย์เมเนลอสพร้อมทหารรวมอยู่ด้วย และให้ทหารแสร้งทำเป็นยกกองทัพเรือกลับไป ทิ้งทหารชื่อซินอนเอาไว้ที่เมืองทรอย เพื่อหลอกล่อให้ชาวทรอยหลงเชื่อ จนพากันออกมานอกประตูเมืองดูม้าไม้ยักษ์ที่ตั้งตระหง่าน ซินอนได้หลอกว่า เขานั้นถูกกองทัพกรีกทิ้งเอาไว้ให้หลงทางอยู่เพียงคนเดียว ส่วนม้าไม้นี้เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ และเป็นการขอบคุณเทพีอาเธนา และม้าไม้จะนำโชคให้กับเมืองทรอย
เมื่อชาวทรอยหลงเชื่อ จึงพากันลากม้าไม้ยักษ์นี้เข้าไปภายในเมืองและเฉลิมฉลองชัยชนะกันอย่างยิ่งใหญ่ ต่างเมาสุราและหมดสติกันแทบทั้งเมือง ราวเที่ยงคืน ทหารที่ซ่อนตัวอยู่ก็ออกมาจากม้าไม้ และเปิดประตูเมืองให้กองทัพกรีก กรีธาทัพเข้ามาจุดไฟเผาเมืองและสังหารผู้ชายไปเป็นจำนวนมากและได้แบ่งผู้หญิงชาวทรอย ให้กับทหารและพันธมิตรต่างๆ นำไปเป็นทาส และนั่น คือวาระสุดท้ายของกรุงทรอย
ชาวกรุงทรอยผู้เคยยิ่งใหญ่ กลายสภาพมาเป็นทาส เพียงเพราะไม่คิดให้แยบคาย คิดว่าม้าไม้นั้นเป็นของนำโชค พลาดด้วยเรื่องเพียงนิดเดียวความพินาศมาถึงตน
ในยุคด่วนทุกอย่าง โซเชียลมีเดียที่ถาโถมมาด้วยข้อมูลมากมาย ก่อให้เกิดมิจฉาทิฐิสามัญไปทั่วหากไม่พิจารณาให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการไม่เชื่อเรื่องศีล ไม่หนักแน่นในความเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว พอผลที่ส่งมาช้า ก็พาลไม่หนักแน่นในความดี และการไม่ตระหนักรู้บุญคุณผู้มีพระคุณ ตั้งแต่บิดามารดา ครูอาจารย์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
จนเกิดเป็นการโกงทุกย่อมหญ้า ประมาทต่อผู้มีพระคุณจนกลายเป็นคนอกตัญญู การจ้องจับผิดผู้ทรงศีลทรงธรรมด้วยอคติ คือไม่มองที่ความดี แต่จ้องแต่จะจับผิดเพื่อทำลาย เหมือนที่อาจารย์โดนทำลายด้วยเรื่องภาพพระสงฆ์ ที่ท่านเป็นศิษย์วิปัสสนา ตั้งแต่เป็นฆราวาส แล้วเผลอยกมือรับไหว้อาจารย์ คนผู้หาช่องทำลายก็มุ่งเอาภาพนั้นมาให้ร้ายโจมตี โดยปิดหูปิดตาไม่คำนึงถึงความดีใดที่เราทำให้พระศาสนาทั้งสิ้น หากบุคคลหลงคิดตามคำเรื่องที่เขาโยนลงมา ก็เท่ากับก่อบาปและภัยเวรให้แก่ตน
เหลือคณา
โทษของอโยนิโสมนสิการ ร้ายแรงเหลือเกิน
พึงระวังจิตเกิดมิจฉาทิฐิ คือเห็นผิดไปจากความจริง ผิดทำนองคลองธรรมเพื่อไม่ก่อภัยเวรแก่ตน ทั้งกาลนี้และกาลไหน
ขอให้ทุกท่านระวังรักษาตัวให้รอด เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นทาสบาป จากมิจฉาทิฐิที่ก่อขึ้นมาด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โยนิโสมนการให้มาก
“พิจารณา มหาพิจารณา” นี่คืออมตะวาจาคำสอนของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
6 เมษายน 2018