|
(Please find Thai version below)
Q: What is the reason that makes Dhamma not enjoyable or how can we understand more from Dhamma listening?
A: Basically, there are two reasons.
The first reason is that people create a wall in their heart and don’t open their mind to Dhamma.
Secondly, the person who delivers Dhamma doesn’t put himself in the heart of listeners. That is he doesn’t improve his method to present Dhamma in the way that can reach the soul of the listeners.
So, when the listeners create the wall and the deliverers don’t improve their method to present, Dhamma is not enjoyable. But in fact Dhamma is very interesting since it’s what we all face in our daily life. Therefore, it is important for both sides to meet halfway or to be in the middle path.
Considering applying technology to help deliver Dhamma should be regarded because it is the case we aim for new generations. Some conservatives may not agree for Meditation Practitioners to be on Facebook. Well, Dhamma is not always about living in the jungle. Today, people connect themselves with social media platforms, and in that matter it is essential to improve techniques by using those platforms to deliver Dhamma to people out there. Then, Dhamma will slowly get into people’s hearts. It’s mutual understanding with each other.
Q: If someone would like to practice meditation, how can they begin with that?
A: The best way to begin is to find good inspiration, such as reading Dharma books and approaching a group of friends who have already studied or meditated.
Try to consider their approach, but don’t go deeply into it.
When you consider with careful and good reasoning and find that nothing goes against Buddha’s teachings then you need to try it out, and there must be a teacher to teach you.
A lot of people couldn’t find any progress and wasted their time due to the lack of the teacher to guide them. Dhamma is very high, very deep, and it is not for playing around, not just come to sit and try a little bit. The whole mind is Dhamma. It carries all the karma that we have done. Karma is not our friend.
We are all waiting to receive the consequences of karma. Therefore, if you want to escape karma and suffering, you must meditate because if you don’t and only study from reading, you will not go anywhere.
You will become a person that reads a lot and listens a lot. Then, you will be addicted to reading and messed up with all the information that you read. You will be unable to find any progress and will waste your time in another life or many lives because of being obsessed with worldly life, being lost from your goal, and being reborn again and again just to satisfy your desires or be deluded with Kilesa (impurities in mind). If you once practiced and never experienced peace like this before, you think that it’s the right way then you need to practice seriously. Because if you don’t, you will not progress any further. People who succeed give their whole heart and their all. People who just keep talking and thinking cannot escape suffering. Life is there to take action, not just sit back and reminisce.
Source: Column “Let’s Talk,” 5000s Magazine, Vol. 1
Translation: Lalidpat Audomruk, Supravee Veerapala
ถาม: สาเหตุใดที่ทําให้ธรรมะไม่สนุก หรือฟังอย่างไร จึงจะเข้าใจในธรรมะมากขึ้นคะ
ตอบ: จริง ๆ มีสองประเด็น ประเด็นแรกที่ไม่สนุกเพราะคนที่ได้เสพธรรมนั้นได้ตั้งกําแพงกั้นตัวเอง ไม่เปิดใจยอมรับ ประการที่สองผู้ที่เผยแผ่ธรรมไม่นําตัวเองให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้ฟัง คือ ไม่มีการปรับปรุงวิธีการนําเสนอ ฉะนั้นถ้าฝั่งที่ฟังตั้งกําแพง ขณะที่ฝั่งที่ถ่ายทอดก็ไม่ปรับปรุงวิธีการ ธรรมะจึงไม่สนุก แท้ที่จริง ธรรมะนั้นสนุกมาก และสนุกในแบบที่ตีกินเข้าไปในหัวใจเลยทีเดียว เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่เราประสบพบเจอทุกคน ทั้งสองฝ่ายจึงควรต้องพบกันครึ่งทาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ถ้าเราอยากจะถ่ายทอดธรรมะให้กับคนยุคใหม่ เราต้องไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี นักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใช้เฟซบุ๊ก คนหัวโบราณอาจกล่าวว่า นักปฏิบัติอะไรใช้เฟซบุ๊ก นั่นแสดงว่าเขาปิดกั้นตัวเอง เขาคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นคงต้องอยู่ป่าเงียบสงบ ในเมื่อคนที่เราต้องการสื่อสารอยากให้เขาได้รู้ธรรมะเป็นคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก เราควรปรับวิธีนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่เขารับได้ให้มีความทันสมัยแล้วธรรมะจะค่อย ๆ ซึมเข้าไปในใจ เป็นการปิดช่องว่างด้วยการเข้าใจโลกซึ่งกันและกัน
ถาม: คนที่อยากปฏิบัติธรรมบ้าง จะมีวิธีเริ่มต้นอย่างไรคะ
ตอบ: การเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือเริ่มจากการหาแรงบันดาลใจดี ๆ เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ การเข้าหากลุ่มกัลยาณมิตรที่ศึกษาหรือปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว ลองพิจารณาแนวทางของเขาดู อย่าเพิ่งกระโจนลงไป เมื่อคิดพิจารณาด้วยเหตุและผลแล้วคิดว่าดี ไม่มีอะไรขัดกับคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ต้องลงมือทดลอง ต้องมีครูบาอาจารย์ไปปฏิบัติกับท่าน คนเสียเวลาทดลองเองนี้มีเยอะแล้วเสียเวลาจริง ๆ เพราะขาดคนชี้ทาง หาความก้าวหน้าใด ๆ ไม่ได้เลย ธรรมนี้สูงมาก ลึกล้ำมาก ไม่ใช่ของเล่น ไม่ใช่เรื่องมานั่งลองนิด ๆ หน่อย ๆ เพราะจิตทั้งดวงนี่คือธรรม คือกรรมและสังขารที่เราแบกไว้ทั้งสิ้น เขาไม่เล่นกับเราด้วย เขาผลักดันและรอเวลาส่งผลตลอด ดังนั้นหากอยากพ้นกรรม พ้นทุกข์ ต้องลงมือปฏิบัติ เพราะหากไม่ลงมือปฏิบัติ มัวแต่อ่านอย่างเดียว ก็จะไปไม่ถึงไหน จะกลายเป็นคนติดตํารา อ่านมากก็ฟังมาก เอาเรื่องนั้นมาโยงเรื่องนี้ยุ่งไปหมด หาความเจริญก้าวหน้าใด ๆ ไม่ได้เลย เสียเวลาชีวิตไปอีกชาติ หรืออีกหลาย ๆ ชาติเพราะมัวแต่หลงชีวิต หลงเป้าหมาย ตายแล้วก็ต้องกลับมาวนเกิด วนแก่ วนบ้าหาเงินรับใช้กิเลสตัณหาอยู่นั่น หากเมื่อไปปฏิบัติแล้วใจมันรับได้ ไม่เคยได้พบกับความสงบระงับอย่างนี้มาก่อน คิดว่าคือแนวทางที่ใช่แล้ว ทีนี้ต้องลุยเลย เพราะหากไม่ลุย ก็ไปต่อไม่ได้อีกเหมือนกัน คนจะสำเร็จได้ ใจต้องเต็มร้อย ลุยก็ต้องเต็มที่ คนมัวแต่พูดกับเพ้อ พ้นทุกข์ไม่ได้ ชีวิตมีไว้ลุย ไม่ได้มีไว้นั่งรำพึงรำพัน
ที่มา : จากคอลัมน์ Let’s Talk นิตย