|
Greed is a weakness of human and is the major cause of the decline in Buddhism. Those who have immoral minds use such weakness, greed for merit, to benefit themselves upon their appearance as a monk. The teaching of Buddha is distorted by teaching people to focus only on giving and hoping to rely on the merit of others instead of relying on oneself. This actually makes people far and far away from the essence of Buddha’s teachings.
.
In the era of high-speed, when people want to succeed in anything, they will seek for a shortcut. Definitely, those who are afraid of being poor focus only on giving alms. Those who are afraid of not being rich enough also focus only on giving. Those who want to be in heaven in the next life also focus on giving. They all give just because they are told that the more they give, the richer they become. Therefore, a teaching we recited in our childhood that we must rely on ourselves “If we want to succeed in anything, we must rely on ourselves and must persevere ourselves” now turns to be the teaching which people presently rarely hear.
.
In fact, Buddha’s teachings have never declined. It is those who pass on what Buddha taught that cause the decline. In other words, the decline of Buddhists causes the decline of Buddhism. Although it is argued that it is not the religion but people that decline, the outcome inevitably affects the religion.
.
People usually begin their merit-making with giving but they forget the purpose, whether it is done to invest or to sacrifice, to express their faith or to gain wealth in return.
.
Giving means sacrifice. It is sharing for the sake of others’ goodness, helping others get out of suffering. It is not an investment for one’s own sake at all.
.
Giving is categorized into 3 types:
1.Giving things: this means giving a beneficial thing or money. Giving an unbeneficial thing is not considered giving.
2.Giving Dhamma: this means teaching Dhamma.
3.Forgiveness: this means truly forgiving even an enemy or those who want to harm you.
Forgiveness must be done from the bottom of your heart, meaning that no such distressed feeling remains in your heart. How do you know if you can truly forgive? You can investigate your mind if you kindly want the enemy to be free from suffering. To say that you forgive by just saying after a person but lacking the kind mind toward the enemy indeed is not forgiveness. This is just a saying ritual.
.
Giving that results in the highest merit is forgiveness. This is because forgiveness is the detachment of ego, which is to attach to revenge and hatred. Also, ego itself is the strongest root entrapping us in the cycle of rebirth.
.
Another issue about giving is Dhamma giving. As currently people want to gain merit without taking action, they usually seek a way to make any merit which will bring about a great fruit. There is a Buddhist proverb written that “giving Dhamma excels all other gifts”. Simply grasping what the statement means, people go on printing and distributing too much of Dhamma books. Such giving from a giver not having faith and understanding in the teaching is not the sharing of Dhamma from which he gains wisdom, but only an order of book printing for free distribution. Hence, do not think that this will gain the merit as expected.
.
This is driven by greed for merit. Therefore, passing on Dhamma becomes superficial. People do not realize the meaning of letting go; they do not really know what they have to let go. They simply think they will leave a bad thing without doing anything. For example, they let go of a trash bin in house by not tossing the trash. So do not order printing Dhamma books for free distribution which will cause Dhamma learning at the superficial level.
.
In fact, before giving Dhamma books, one should learn Dhamma that Buddha taught in the book first. And after reading and having faith, coming to behave morally under the precepts, then he may distribute them to others. Sharing Dhamma with good faith and certain understanding is true Dhamma giving.
.
Giving should be done with the mind which is willing to sacrifice, not a greedy mind perceiving merit-making as investment. Investment actually is risky. The more people are greedy, the more they lose. In contrast, for those who give without expecting anything in return will gain the great fruit. This is because a giver will always receive.
..
Master Acharavadee Wongsakon
Selected from Collection of Master’s Teachings Book I
Page 73-82: “Make Merit or Make Investment”, July 10, 2013
…………………………………………………………………………………………
“ทำบุญ หรือลงทุน”
.
ความโลภเป็นจุดอ่อนของมนุษย์ เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมในพระศาสนา ผู้มากด้วยอกุศลจิตจึงใช้จุดอ่อนที่คนมักโลภในบุญ แสวงหาประโยชน์ในคราบของนักบวช จึงเกิดกระบวนการเผยแผ่ธรรมในแบบตัดตอน ให้มุ่งเน้นแต่การทำทานและหวังเกาะกระแสบุญของผู้อื่นโดยไม่คิดหวังพึ่งตัวเอง เปิดช่องให้คนห่างไกลจากแก่นของคำสอนจนสุดกู่
.
ยุคไวไฟไฮสปีด ใครอยากสำเร็จในเรื่องอะไรก็ไปแสวงทางที่คิดว่าตนจะได้ความสำเร็จนั้นโดยง่าย และแน่นอนว่าคนกลัวจนก็เลยมุ่งแต่การทำทาน คนกลัวไม่รวยพอก็มุ่งไปที่การทำทาน คนอยากมีสวรรค์วิมานในภพภูมิต่อไปก็มุ่งไปที่การทำทาน ทำเพราะเขาบอกว่าทำแล้วดี จะร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป คำว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ คำสอนที่เคยได้ท่องตอนเด็ก ๆ ที่แปลว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อยากสำเร็จสิ่งใดต้องพึ่งตนเอง ต้องเพียรด้วยตนเอง เป็นคำสอนที่คนยุคสมัยนี้นานทีปีชาติจึงได้ยิน
.
คำสอนของพระพุทธองค์ไม่เคยเสื่อม แต่คนถ่ายทอดนี่แหละคือผู้ทำให้เสื่อม เมื่อคนเสื่อมก็ทำให้ความมั่นคงในพระศาสนาเสื่อม หรือพูดสั้น ๆ ว่า ศาสนาเสื่อม แม้ใครจะมาถกเถียงว่าไม่ใช่ศาสนาแต่เป็นคน ท้ายที่สุดผลก็ตกอยู่กับพระศาสนาอยู่ดี
.
มนุษย์มักหลงลืมไปว่าการทำบุญที่มักเริ่มต้นด้วยการทำทานทำไปเพื่ออะไร เพื่อการลงทุนหรือเพื่อการเสียสละ เพื่อแสดงศรัทธาหรือเพื่อการได้มาซึ่งลาภ
.
ทาน แปลว่าการสละ เป็นการแบ่งปันเพื่อความดีงามของผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ลงทุนเพื่อประโยชน์แห่งตน
.
ทานแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. อามิสทาน หรือวัตถุทาน คือการให้เป็นสิ่งของที่เกิดประโยชน์ รวมถึงเงินด้วย หากสิ่งของใดให้แล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ถือเป็นทาน
2. ธรรมทาน คือ การสั่งสอนธรรม
3. อภัยทาน คือ การให้อโหสิกรรมอย่างแท้จริงต่อศัตรูหรือผู้ปองร้ายตน
ทานข้อนี้ ต้องอภัยได้จากก้นบึ้งของใจโดยไม่คิดติดค้างเลย การจะรู้ว่าเราอภัยได้อย่างแท้จริงหรือเปล่า ก็ตรวจจิตตนว่าเรามีจิตปรารถนาดีอยากให้เขาพ้นทุกข์หรือเปล่า หากให้อภัยเพราะมีคนกล่าวนำแล้วตนกล่าวตามเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่ใจไม่น้อมไม่เมตตาต่อศัตรูเลย นั่นไม่ถือว่าเป็นอภัยทาน ถือว่าเป็นพิธีกรรมท่องอาขยานเท่านั้น
.
ทานที่เกิดอานิสงส์สูงสุด คือ อภัยทาน เหตุที่สูงก็เพราะเป็นการละลายอัตตา คือความยึดมั่นถือมั่นในความพยาบาทอาฆาตแค้น และอัตตานี่คือแก่นรากที่แกร่งที่สุดที่ยึดมั่นตนไว้ในภพ
.
สิ่งที่อยากเสริมอีกประการเกี่ยวกับทานคือ ธรรมทาน ในยุคคนประสงค์บุญแต่ไม่ประสงค์ลงแรง ก็คอยแสวงช่องทางว่าจะทำบุญส่วนใดที่ได้บุญมาก ๆ พอไปเจอคำว่า “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” แปลความว่า “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” จับความนี้เพ้งเดียวก็พิมพ์หนังสือธรรมะแจกกันยกใหญ่ บทสวดมนต์เอย และอะไรต่อมิอะไรมากมายที่รับมาจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร การให้โดยที่ผู้ให้ไม่ได้ศรัทธาและไม่เข้าถึงคำสอน ไม่ใช่การให้ธรรมทานที่เกิดจากธรรมที่ตนเห็นแล้ว เป็นเพียงการสั่งพิมพ์หนังสือธรรมแจกตามความเชื่อเท่านั้น ก็อย่าฝันหวานว่าจะเกิดอานิสงส์ตามประสงค์
.
นี่ก็เพราะความโลภในบุญเป็นเหตุ จึงทำให้การสืบและถ่ายทอดธรรมฉาบฉวยขนาดคำว่า “ปล่อยวาง” ยังเข้าไม่ถึงกันเลยว่าวางอะไร คิดเขลา ๆ ว่า เห็นอะไรไม่ดีอย่างไรก็ปล่อยไป ถ้าคิดเช่นนั้น มีคนเอาถังขยะมาไว้ในบ้านก็จงปล่อยวางไปอย่าเอาไปทิ้ง และอย่าไปพิมพ์หนังสือธรรมะแจกใคร ให้เกิดเป็นการสร้างกระแสการรู้ธรรมอย่างฉาบฉวย
.
ก่อนจะพิมพ์หนังสือธรรมะแจก ศึกษาธรรมที่ท่านสอนไว้ในหนังสือเสียก่อน ศึกษาแล้วจิตใจเกิดศรัทธา อยากประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม แล้วค่อยแจกคนอื่น การให้ธรรมเป็นทานโดยมีศรัทธานำและให้พอมีความเข้าใจในหลักธรรมบ้าง นั่นจึงถือเป็นธรรมทาน
.
การทำทานจึงควรทำด้วยจิตที่สละ มิใช่จิตที่มักโลภมองเป็นเรื่องของการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง และยิ่งโลภมาก ลาภยิ่งหาย ต่างกับผู้ทำทานด้วยใจ ยิ่งไม่หวังยิ่งได้ เพราะผู้ให้ย่อมได้รับ
.
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
ที่มา: คัดจากคำสอน “ทำบุญ หรือลงทุน” 10 กรกฎาคม 2556
.
Quote in the picture
People usually begin their merit-making with giving but they forget the purpose, whether it is done to invest or to sacrifice, to express their faith or to gain wealth in return.
Giving actually means sacrifice. It is sharing for the sake of others’ goodness, to help free others from suffering. Therefore, giving is not investment for your own sake at all.
.
Translated by Pimchanok Thanitsond and Kanya Yanen.