“One thing has to reach”

Every temple you go is to
May 18, 2018
“The Highest Merit on the Most Important Visakha Bucha Day”
May 28, 2018

“One thing has to reach”

(Please find Thai below)

I would like to answer those who curious whether it is possible for laymen to reach enlightenment. Don’t we have to leave anything? If you want to know, you have read until the end. Please do not read roughly.

When listen to sermon about enlightenment, emptiness, soullessness, or detachment, laymen are often discouraged or deny that we can reach enlightenment. We might accuse that we still have family. However, once we meditate, we could understand that there is no possession of things, no attachment to any emotion. In reality, we could have or leave everything. If it is necessary to possess, we will possess with understanding and treat things as if we do not possess, but just borrow for usage.


Soullessness is state of mind that does not have any impurities which are causes of attachment to emotion.

When we shortly say ‘detachment,’ we may confuse and misunderstand that we should be detach from everything. Actually, we should clearly say ‘detachment to emotion.’


After we finish Vipassana meditation, we may forget that we have family, children, or someone waiting for us at home. This is the most valuable experience as our mind reaches the state of detachment and has no possession temporarily. However, this temporary allows us to see that original mind is free, free from attachment of emotion. The mind is away from emotion attachment and habit of seasoning the mind which has occurred for a long time.

Then mind will return to neutral stage between supramundane and mundane. Now, mind will correctly adjust itself and does not detach to anything. We will realize how to handle the family, children or other burdens. If choosing to reach enlightenment as layman, we will support and take care each other with kindness, not a concern. When you reach high virtue, a firm honesty will replace emotion of possession in our married life.

The soullessness is to detach to any emotions, including anger, greed and lust. For layman, things that we already have and are excess, we will sacrifice. But if they are still necessary, we continue to use them, for example: you already have a car then you can use as it is. You maintain it to have a condition for safe driving. It does not mean that you have to sell it and take a bus while this causes trouble in work to you.

You still can possess it but your mind should not attach to it that it belongs to you. Having it need to be appropriate with your status. It is about sufficient living according to your status. You do not need to build an image that “I cannot possess it” since you already had it. You have to choose a beneficial aspect not a destruction aspect. Also, it has to be appropriate. It is not okay to carry a Louis Vuitton bag to attend Dhamma practice and say that it is just a bag.

You have to choose to use things, which are appropriate with status of a person, who lives their lives in “composure”.

Do not stop holding on to goodness. Goodness and gratitude are the virtue of original mind. This is quality of pure mind, not emotion.

People, who just read textbook, are hardly understand soulless gained from Vipassana practice. They often interpret that letting go means neglect. Do not do a good deed and correct a bad deed. Leave it, let go. This is delusion of those, who have not practiced to reach the goal.

Buddha said that being a lay person was hard. Being a monk was also hard. Both were hard but in different ways. However, Buddha did not say that lay person could not reach liberation. Reaching liberation depends on his commitment and whether he understands his situation or not that it is difficult to avoid his mind to be trapped in illusion and attachment. If he understands, he can build a flexible protective wall, which is not too tight till he feels uneasy or too loose till his mind easily stuck. 

When you know your goal and you are seriously, truly practice Vipassana with firmness, and strongly observing the five precepts. I can guarantee with my life that with observing the five precepts you can reach liberation without ordination as a nun.

The path of monks differs from the path of lay person. There are different details in life, which are incomparable. What actually differentiate monks and lay person is precepts, not the level of morality.

Lay person could have noble mind if their virtue is reached. It is alright to have different paths but virtue is what we have to elevate to no matter which path we are on.

Master Acharavadee Wongsakon
May 22, 2018

Translator: Wisuwat Sutthakorn, Pimchanok Thanitsond

……………………………………………………………………

“สิ่งหนึ่งที่ต้องไปให้ถึง”
.
ขอตอบความสงสัยของผู้ที่อยากรู้ว่า การหลุดพ้นแบบฆราวาส เป็นไปได้ด้วยหรือ ไม่ต้องละทิ้งทุกอย่างหรือ ? อยากรู้ต้องอ่านให้จบและอย่าอ่านแบบฉาบฉวย
.
เวลาฟังพระเทศน์เรื่องการหลุดพ้น เรื่องความว่าง เรื่องอนัตตา เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ฆราวาสก็มักถอดใจไปแล้วว่า ฉันทำไม่ได้หรอก ฉันยังมีภาระอยู่มาก ฉันจะไม่มีได้อย่างไร ฉันยังมีอยู่เป็นโขยง เป็นครัวเรือน แต่พอภาวนาให้ถึงแล้วจะรู้ว่า มันเป็นความไม่มีไม่ยึดในระดับจิตใจ ไม่ยึดในอารมณ์ แต่ในสภาพความเป็นจริงถ้ายังมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ หากจำต้องมีก็มีด้วยความเข้าใจ และปฏิบัติต่อการมีนั้น แบบไม่ยึดถือครอบครอง ปฏิบัติเช่นผู้ขอยืมใช้ให้เป็นประโยชน์
..
สภาวะอนัตตา คือ จิตเดิมว่างจากกิเลส ที่เป็นตัวการทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ 
คำว่า “ไม่ยึดมั่นถือมั่น” พอกล่าวสั้นๆ ก็ทำให้คนสับสนและตีความผิดมาก คิดว่าไม่ให้ยึดอะไรสักอย่าง ที่จริงควรกล่าวให้ชัดว่า “ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์”

เวลาปฏิบัติวิปัสสนาแล้วพอถอนออกมานี่ ลืมไปเลยว่าตัวมีครอบครัว มีลูก มีใครรออยู่ที่บ้าน….นี่คือที่สุดของประสบการณ์เลย เพราะมันคือการเข้าถึงสภาวะของการขาดจากความยึดมั่นถือมั่นครอบครอง ขาดจากความเป็นเจ้าของชั่วขณะนึง แต่เป็นชั่วขณะที่ทำให้เห็นสภาพของจิตเดิมว่า จิตเดิมจริงๆ เขาเป็นอิสระ เขาไม่เคยยึดถืออารมณ์เลย


เป็นจิตที่อยู่ในฟากโลกียะที่บริสุทธิ์ และพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่ไปหลงยึดหลงคิดเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เพราะชินกับการปรุงแต่ง จนเกิดมีตัณหาและนำไปสู่อุปาทานมาแสนนาน แต่พอสักพักจิตเขาคืนมาสู่ตรงกลางระหว่างสองโลก คือโลกโลกียะและโลกุตระ จิตเขาจะวางตัวเองถูกเลย เขาจะไม่ไปยึดเป็นเจ้าของ เขาจะรู้ว่า ครอบครัว ลูกและภาระใดๆ ที่มีอยู่นั้น หากจะเลือกเดินสู่ทางหลุดพ้นในแบบฆราวาส นี่ คือสิ่งที่ต้องทำต้องดูแลต่อกันเพื่อเกื้อกูล ด้วยความเมตตา ห่วงใยที่ไม่ใช่ห่วงหา ห่วงหานี่คือยึดแต่ห่วงใยนี่คือความเมตตา และเมื่อจิตมีคุณธรรมสูงขึ้นมาแล้ว ในความเป็นชีวิตคู่ แม้ไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของครอบงำอยู่ แต่จะมีคุณธรรมของความสัตย์ซื่อต่อกันอย่างแน่นแฟ้น เข้ามาแทนที่อารมณ์การครอบครองแบบโลกๆ 
.
สภาวะอนัตตาเป็นแบบนี้ คือความไม่ยึดกับอารมณ์ที่เคยหลงยึด คืออารมณ์ของกิเลสที่แจงเป็น ความโลภ โกรธ ลุ่มหลง สิ่งใดที่เคยหลงยึดอยู่ใจมันไม่ยึด สำหรับฆราวาสไม่ใช่ลุกขึ้นไปรื้อบ้านรื้อเรือน สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว และรู้สึกว่าเกินความจำเป็น เกินความพอดีเขาจะสละออกไป แต่ถ้ามีเพราะยังประโยชน์ได้ ก็ใช้กันต่อไป เช่น มีรถยนต์อยู่ก็ใช้ไปตามสภาพ ดูแลให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการขับขี่ ไม่ใช่ต้องไปขายแล้วขึ้นรถเมล์ แล้วทำให้การทำการงานของตนติดขัด


คือมีได้แต่ใจไม่ไปยึดถือเป็นเจ้าของ และการมีนั้นต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่ฐานะของตน คือ เป็นผู้มีความเป็นอยู่อย่างพอดีๆ ตามฐานะ ไม่ต้องไปสร้างภาพว่า ฉันมีไม่ได้ ก็มันมีไปแล้ว ก็ต้องเลือกมุมที่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่ไปทำลาย และต้องมีความพอดี ไม่ใช่ถือหลุยส์วิตตองไปปฏิบัติธรรม จะบอกว่ามันก็คือกระเป๋าใบหนึ่ง ก็ไม่ใช่ คือต้องเลือกใช้ของที่เหมาะแก่ฐานะของผู้ที่ “ต้องเป็นอยู่ด้วยความสำรวม”

แล้วไม่ใช่เลิกยึดถือในความดี ความดี ความกตัญญู นี่คือคุณธรรมของจิตเดิม คือคุณภาพ Quality ของจิตบริสุทธิ์ ไม่ใช่อารมณ์

ผู้ที่ได้แต่อ่านตำรา ยากที่จะเข้าใจสภาพอนัตตาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนา แล้วก็มักไปแปลคำว่า ปล่อยวางคือปล่อยปละละเลย ดีก็ไม่ทำ ชั่วก็ไม่แก้ไข ปล่อยๆ มันไป นี่คือความหลงผิด ของผู้ไม่ปฏิบัติให้ถึง
..
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การเป็นผู้ครองเรือนนั้นยาก การเป็นพระก็ยาก คือยากกันคนละแบบ แต่ไม่ได้ทรงบอกว่าฆราวาสหลุดพ้นไม่ได้ อยู่ที่ว่า ฆราวาสนั้นเป็นคนจริงหรือเปล่า และเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของตนหรือไม่ว่า มันยากต่อการไม่ให้จิตหลงกับมายาและหลงยึดมั่นถือมั่นขนาดไหน หากเข้าใจ แล้วสร้างกำแพงกั้น ที่มีความยืดหยุ่น คือ ไม่แน่นจนตนอึดอัด แต่ไม่หลวมเกินไปจนจิตติดหล่มได้ง่ายดาย หากรู้จักเป้าหมายของตัวเอง และจริงจัง จริงใจกับการปฏิบัติวิปัสสนา มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เป็นไม้หลักปักเลน ศีลห้าต้องรักษาแบบเข้มข้น นี่ขอเอาชีวิตเป็นประกันว่า ศีลห้าหลุดพ้นได้ แบบไม่ต้องโกนหัวบวชชีด้วย 
..
วิถีของพระกับของฆราวาส มีรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตที่ต่างกัน เทียบกันไม่ได้ สิ่งที่แยกความต่างระหว่างพระกับฆราวาส คือศีล ไม่ใช่ระดับคุณธรรม เป็นฆราวาสก็มีจิตเป็นพระอริยะได้หากคุณธรรมถึง วิถีต่างกันไม่เป็นไรแต่คุณธรรมต่างหาก คือสิ่งที่ต้องยกระดับไปให้ถึง ไม่ว่าจะอยู่ในวิถีใดก็ตาม
.
อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล
22 พฤษภาคม 2561

Discover more from The Buddhists News

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

The Buddhist News

FREE
VIEW