Atthami Bucha Day – Buddha’s Cremation Day

Did the Buddha really say that?
May 14, 2020
Feed Fear with Love | Quan Yin
June 12, 2020

Atthami Bucha Day – Buddha’s Cremation Day

Atthami Bucha Day
(โปรดอ่านภาษาไทยด้านล่าง)
.
Atthami Bucha Day is the Buddha’s cremation commemorative day which is the 8th day of waning moon in the 6th lunar month. It was eight days after the Buddha entered parinirvarna and the cremation was carried out at Ramabhar Stupa, Kusinara City, Malla Region.

On the same day in years before, there were also other important incidents happening; it was the day that Queen Mahamaya, the Buddha’s mother passed away, after seven days from his birth and it was the day that the Buddha experienced the bliss of emancipation throughout seven days after his enlightenment. It was also the day that Buddhists had a great grief due to the loss of the Buddha’s body that they highly revered. Therefore, it is the day for Buddhists to realize the impermanence of life and to recall the Buddha’s virtues so they can become conscious and practice meditation to cultivate merits.

After the Buddha passed away under the Sal trees on the full moon night of the 6th lunar month, the King of Malla held a ritual with fragrance, flowers and all kinds of musical instruments available in Kusinara city for seven days. The eight members of Malla royalty wore new clothes, carrying the Buddha’s body to the east of the city for cremation ceremony. After that, the four Malla royalties tried to set fire to the crematory but the fire was not ignited although they followed the words of the Venerable Ananda to wrap the Buddha’s body in silk cloth with cotton lining, altogether 500 layers and placed the body on a metal rail filled with oil. The funeral pyre was decorated with sandalwood flowers and all kinds of fragrances.

In this regard, the Venerable Anuruddha stated that “It’s because the angels wish to wait for the Venerable Maha Kassapa and the group of 500 monks who are on their way to pay obeisance to the Buddha. After that the fire will burn.” This was because those angels used to be attendants of the senior disciples before. Therefore, they were not happy for not seeing the Venerable Maha Kassapa in the ceremony.

On the way the Venerable Maha Kassapa and the monks coming from Pava with intention to meet the Buddha, they met a brahmin holding mandara flower. So, he knew that an unusual event occurred as this flower only existed in the divine world not in human world. Then he learned that the Buddha had passed away for seven days. With great sorrow, some of the monks in the group who had not yet reached enlightenment rolled on the ground, some wailed. As for the monks who had reached enlightenment, they realized that “Even the father of religion, who is the eyes of the world has to die. Nothing is permanent.”

When the Venerable Maha Kassapa and 500 monks arrived at the crematory at Ramabhar Stupa, they covered the robes upon the shoulder, put their hands on the chest and walked around the funeral pyre clockwise for three rounds. The Venerable Maha Kassapa opened the fabric at the Buddha’s feet, paid obeisance, then entered the fourth meditative absorption state and prayed that “Venerable sir, may these 500 layers of cloth open up for your feet to be above my head.” When he finished his prayer, the Buddha’s feet emerged from the cloth for the Venerable Maha Kassapa to hold firmly above his head and bowed with greatest respect. The public were astonished by that miracle. After all monks paid obeisance, the Buddha’s feet returned to the same place. Then, with the power of angels and no one else lit the fire, the flame burned the Buddha’s body, with no smoke or soot emitted at all. When the fire almost burned out, there was water flowing down from the air and there was water rising from the pile of Sal wood to put out the remaining fire.

When the news of the Buddha’s parinirvana and the cremation ceremony, from which his remains became the relics were heard by various Kings, each desired to claim the relics for worship on their own land and they sent out ambassadors to receive the share of the relics. But the Mulla kings refused to share with the reason that the Buddha passed for parinirvana in their city. The relics war was about to start as each King took their armies close to the fortress. At that time, a senior brahmin named Dona showed up and announced, “Our Lord Buddha praised endurance and harmony. To seize the relics by force is absolutely inappropriate. Why not the relics be shared into equal portions so as each can bring back the holy relics to worship on each land since there are many who have faith in Buddha?”

When all had heard, they agreed and said, “Then you shall be the one dividing the relics into equivalent 8 portions.” Brahmin Dona accepted. After dividing, he asked, “May you all please let me have the urn so that I can erect a stupa over the urn.” King of Moriyas also sent representatives but they came after brahmin Dona had divided the relics, so the Moriyas were given the ashes instead.

 

The monuments were built as follow:1. The Licchavis of Vesali – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Vesali
2. The Sakyas of Kapilavatthu – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Kapilavatthu.
3. The Bulis of Allakappa – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Allakappa.
4. The Kolis of Ramagama – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Ramagama.
5. The Vethadipa brahmin – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Vethadipa.
6. The Mallas of Pava – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Pava.
7. The King of Magadha, Ajatasattu – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Rajagaha.
8. The Mallas of Kusinara – erected a stupa over the relics of the Blessed One in Kusinara.
9. The Moriyas of Pipphalivana – erected a stupa over the ashes in Pipphalivana.
10. The brahmin Dona erected a stupa over the urn in Kusinara.
In present days, the ceremony for cremation day is the same as other holy religious days in Buddhism including alms giving to monks in the morning or before noon, observing the Five or Eight precepts, practicing meditation and offering merit to the Buddha or walking triple circumambulation at the temple in the evening.

Knowing Buddha with Master Acharavadee Wongsakon
14 May 2020
.
Reference source: watpamafai.orgtrueplookpanya.com
Translation: Nilobon Waiyaworn, Napassakorn Oveerawong…
.
วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันอัฏฐมี ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ นอกจากนั้น ยังเป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) อีกทั้งเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงและเป็นวันที่ควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติ ภาวนามัยกุศล

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ก็จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด 7 วัน และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออกของพระนครเพื่อถวายพระเพลิง จากนั้น ก็ให้พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจทำให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตามคำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระของพระพุทธเจ้าด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด

ในการนี้ พระอนุรุทธะ จึงแจ้งว่า “เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้” ทั้งนี้ เนื่องจากเทวดาเหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระและพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

ฝ่ายพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุซึ่งเดินทางมาจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทางได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่งถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น เพราะดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นจึงได้ความว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไปล่วงเจ็ดวันแล้ว พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูปที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า “แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ”

เมื่อพระมหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิงตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาท แล้วเข้าจตุตถฌาน แล้วอธิษฐานว่า “ขอพระยุคลบาทของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด” เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับพระยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม จากนั้นเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดาโดยไม่ต้องมีผู้ใดจุดอีก ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใด ๆ ฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น

เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจนพระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้วได้แพร่ออกไป เหล่ากษัตริย์ในนครต่าง ๆ ก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า “พระผู้มีพระภาคของเรา” “พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง” แต่เหล่ามัลลกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา” ดังนั้นกษัตริย์ในพระนครต่าง ๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่าจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยก กองทัพมาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ พราหมณ์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืนบนป้อมประตูเมืองและประกาศว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิงพระบรมธาตุของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก”
เมื่อหมู่คณะเหล่านั้นได้ฟังดังนั้น จึงตอบแก่พราหมณ์ว่า “ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่านนั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่า ๆ กัน ให้เรียบร้อยเถิด” โทณพราหมณ์ รับคำของหมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าวกับหมู่คณะเหล่านั้นว่า “ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักกระทำพระสถูปและกระทำการฉลองตุมพะบ้าง” ทูตเหล่านั้นจึงให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์

หลังจากนั้น เมื่อเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาเจ้ามัลละเมืองกุสินาราเพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำมาบูชาเช่นกัน แต่เมื่อเดินทางมาถึง เจ้ามัลละ เมืองกุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคไม่มี เราได้แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้นจึงนำพระอังคารกลับไป

กษัตริย์แต่ละเมืองที่นำพระบรมสารีริกธาตุกลับไปได้สร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองของตัวเอง ดังนี้
1. กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
2. กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
3. กษัตริย์ถูลี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
4. กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
5. มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
6. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
7. พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
8. มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
9. กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน
10. โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)

ปัจจุบันการประกอบพิธีในวันอัฏฐมีบูชา จะปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่น ๆ ที่มีการทำบุญตักบาตร การให้ทาน ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรในช่วงเช้าหรือเพล รักษาศีล สำรวมระวังกายและวาจา ด้วยการรักษาศีล 5 หรือศีล 8 เจริญภาวนา บำเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานเพื่อเป็นพุทธบูชาและปฏิบัติบูชา รวมทั้ง การเวียนเทียนเพื่อเป็นการการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาในตอนค่ำ

องค์กรโนอิ้ง บุดด้า
14 พฤษภาคม 2563
.
ผู้เรียบเรียง : คุณญาวดี แก้วสุกใส
ที่มา : watpamafai.orgtrueplookpanya.com

%d bloggers like this:
The Buddhist News

FREE
VIEW