How important is the foundation for merit?

Quality time, Work-Life Balance and Reducing the Pressures of Life
September 15, 2015
Every temple you go is to
May 18, 2018

How important is the foundation for merit?

(Please find thai below)

This article is intended to bring wisdom in Dhamma to readers and thus rather long. The Dhamma content is for those who has experience in meditation. Those without it but having the foundation of merit from the past lives will be able to understand if they read it without bias. I do not wear any uniform. I share it out of the knowledge obtained directly with my Knowing Mind for those who are eager to learn. Please do not believe it immediately, but read and consider it by yourself before you do. However if you read it in order to find a fault, just like what has happened to me recently, you will find it somehow. This is simply because your mind is already biased, and hence, completely blind. Seeing right as wrong just as the blinded and biased eye want to see.

What is the foundation for merit? 
The foundation for merit is a trait of the mind. 
It serves as a container collecting the meritorious energy a person has accumulated. I’m not sure if the word ‘foundation for merit’ has been defined in the Tripitaka. But this article is written to elaborate the understanding of the Thai proverb “Made by good karma. Designed by bad karma.” When any personal circumstances are caused by the power of good or bad deeds or karma, there must be a place somewhere in the mind that stores these karmas.

That ‘somewhere’ is the part in our mind known as Saṅkhāra, in which all our cooked feelings are stored. These cooked feelings are the results of one’s reactions to whatever comes to affect one’s body or mind. In another word, it is the part that collects the karmic power or the power of action, both good and bad.

The Saṅkhāra functions as a the mind’s warehouse or database . When the caused we did ripens, the effect will appear. This is not Saññā, the part of the mind that remembers but plays on part in triggering the effect.

Some may question “So where and what is this foundation for merit or the merit warehouse or merit container like?”

At the invisible or ultimate level, the foundation for merit is the state of positive energy current. At a rough level, it can be seen in symbols. The Knowing Mind relays the energy to the form that human beings can understand; a basin full of pure water symbolizing the good karma or goodness that lifts up and brightens the mind.

A small foundation of merit is like a bowl of clear water. For those who have done many good things but the energy is running out, it’s like a barrel with little amount of clear water left. But if that person’s foundation of merit is huge, the container is too big to be seen.

For those who haven’t done any additional good things, the pure water in their container will be depleted continually. This is how the meaning of the word translates to a vision.

The Supporting Merits 

I used to see, in meditating state, the water is poured into a container, but I did not see it. I understand this as the state in which the good merit is working as a buffer. That is, when one encounters a difficulty, the positive energy will lessen the hardship or support a certain mission to success. For those who fail to do good, the supporting merits will dissipate. When bad karma catches up on them, there won’t be much help to ease the situation. They just have to face full consequences.

There was a time when my foreign student is at life’s lowest ebb. No matter how much I shared my merits from Vipassana teaching to her, she could take very little of it because her foundation of merit was so small; just like a small rice bowl that cannot store all the rain. I asked her to expand her foundation by giving alms to disciplined Buddhist monks. When someone with so little merit left, you need to use every measure to help including:

Emergency help to keep the situation from getting worse through my merit
Give advice to strengthen the foundation by merit making, meditation, and donation
Help them to stop doing bad things by refraining from hurting others and themselves through strictly observing the Buddhist Five Precepts. This is to prevent the already tiny foundation of merit from disappearing fast. 

“The Effects of Completely Committed Karma”
As a type of energy, the merit can increase and decrease. No matter how much it increases or decreases, it’s usually not used up because at least “the completely committed merit” is always there.

For example, my student volunteered to teach Dhamma at the beginner’s level. After the teaching, the merit is considered “completely committed”; the listeners were inspired by Dhamma to be a better person. This good karma will then be stored in the everyone’s foundation of merit.

This positive energy can actually become stronger if that person later thought about it and felt happy for contributing to the religion and the society. This is because his energy flow is now linked to the holy Triple Gem, bringing his mind to another level.

However if he later becomes careless with his thoughts and developed contempt for this own teacher, not believing in true Dhamma he witnessed himself and the direct experiences of changes within himself, the past goodness will no longer be the source of joy. That positive energy current will decrease. But no matter how little the energy is left, there’s always some left at the bottom of the container because the merit is ‘completely committed.’ But the karma from disdaining Dhamma will cause retribution which he cannot escape.
This is the explanation of merit foundation.

The Miracle of Seven Factors of Enlightenment
Buddha taught that reaching enlightenment requires seven factors as follows:
Sati, or mindfulness
Dhamma Vicaya, or the investigation of Dhamma
Viriya, or determination to do good deeds
Piti, or joy
Passaddhi, or mind tranquility
Samadhi, or concentration

Upekkha, or equanimity to let go of emotional attachment

Buddha said “Bhikkhu! The seven factors of enlightenment are not hindrances or impurity of mind. The cultivation of the seven factors of enlightenment will bring about transcendental wisdom and liberation.”

“Bhikkhu! The seven factors of enlightenment are Dhamma leading to the eye of wisdom. They are not the way of hatred but the way to Nirvana.”

To become enlightened, we cannot miss any factors because every factor mutually supports one another. Just the lack of joy that we normally give little value to can destroy the bridge to enlightenment due to the leakage of the merit foundation we have accumulated. The leakage results from the lack of Dhamma contemplation. That is, we do not investigate what we should believe, what we should give significance, and what we should let go.

The Dhamma Buddha categorized is so miraculous that no single word can completely describe.

We cannot give value to the only one factor. At the beginning, we may have to begin one by one or focus on a factor in order to achieve the others. But every factor must support and complete one another to show the complete outcome of Dhamma. 

Regarding the Seven Factors of Enlightenment, Buddha said, “We cannot focus only on practicing without observing the precepts. We can have firm faith but we cannot lack Dhamma contemplation. We cannot follow Buddha’s teachings without clear mind. Without joy, Dhamma cannot perfectly reveal itself as it is impeded by Five Hindrances. This is the holistic Dhamma that uplifts the mind’s power simultaneously.

Preserve the merit foundation you’ve made well. Do not let your jar of merit leak. If it leaks, you have to find out why. Which weakness does your mind have? Then close the leakage. Otherwise not only will what you have been persevering for so long give very little returns, but your bad karma will increase.

Spiritual enlightenment is the realization of ignorance; all the delusions in the illusive world. At the stage of enlightenment, mental formations leading to cravings are destroyed. Without cravings, one will not commit a sin anymore. The retribution of karma however remains because the action was made and that person is still alive. But when he passes away, he will no longer come back as the mind is purified.

Do not doubt others or keep finding fault with others. Those still tainted with impurities can still make a mistake. We must doubt ourselves why we are still here. Despite the fact that enlightenment was well taught by Buddha and spiritual masters, why are we still be ignorant? Does this result from our lack of determination? Although we found the way and practiced until our mind changed positively, without determination to reach the destination we would be stuck and fooled endlessly.

Those who have faith in Dhamma have cultivated wisdom and merit foundation differently. Despite wisdom, without determination they will be the clever stuck in this prison of Samsara. Their souls are trapped in the cycle of birth and death endlessly.

Make destination equal zero

After we are lost in the cycle of Samsara for so long, it’s about time we land at Nirvana.
Be firm on your target.
Nothing can change our destination.


Go for it!

Master Acharavadee Wongsakon


April 25, 2018

Translate by Pimchanok Thanitsond, Kanokros Phalakornkul

ฐานบุญ สำคัญอย่างไร?

บทความเปิดปัญญาธรรมนี้ค่อนข้างยาว เป็นธรรมสำหรับผู้มีพื้นฐานภาวนา แต่แม้ผู้ไม่มีพื้นฐานในชาตินี้ แต่ฐานบุญในอดีตที่สะสมไว้ ก็ย่อมทำให้เข้าใจได้ หากอ่านโดยปราศจากอคติ อาจารย์ไม่มีเครื่องแบบ แต่เขียนถ่ายทอดด้วยจิต ให้ผู้ใฝ่ธรรมพิจารณาดู โดยไม่ต้องปักใจเชื่อ เพียงอ่านแล้วพิจารณาตามแล้วค่อยเชื่อ แต่หากอ่านเพื่อจะจ้องจับผิด เหมือนที่เห็นที่รู้กันแก่ใจ จับยังไงก็ต้องหาว่าผิด เพราะจิตมีอคติบังตาบังใจ ให้เห็นถูกเป็นผิด พลิกให้เห็นตามที่อคติที่บดบังดวงตาธรรมไว้

ฐานบุญ คือ คุณลักษณะส่วนหนึ่งของกระแสจิต ที่ทำหน้าที่เหมือนภาชนะรองรับกระแสบุญกุศลที่ตนสะสมไว้ ไม่แน่ใจว่า คำว่า ฐานบุญมีบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ แต่ที่เขียนนี้เป็นการอธิบายเสริมความเข้าใจคำกล่าวที่ว่า “บุญทำ กรรมแต่ง” เมื่อการได้อัตภาพใดๆ เกิดด้วยอำนาจแห่งบุญหรือกรรม จิตนี้ก็ต้องมีที่สะสมบุญหรือกรรมไว้ตรงไหนสักแห่ง
 
ตรงไหนสักแห่ง ก็คือจิตส่วนสังขาร โดยร่างกายนี้ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1. กาย ส่วนที่ 2 คือจิต ซึ่งแยกออกเป็น วิญญาณ สัญญา เวทนา สังขาร


ส่วนของสังขาร คือส่วนเป็นส่วนสะสมอารมณ์ที่ปรุงแต่งไว้ จากการที่ตนทำปฏิกิริยาต่อสิ่งที่มากระทบกายกระทบใจ
กล่าวคือ เป็นส่วนสะสมกระแสกรรมไว้นั้นเอง สะสมไว้ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม 


จิตสังขารทำหน้าที่เหมือนคลัง หรือฐานข้อมูลของจิตว่า สร้างเหตุอะไรเอาไว้บ้าง เมื่อถึงเวลาเหตุนั้นบ่มเพาะผลเต็มที่ ก็จะมาส่งผล ซึ่งต่างจากความทรงจำหรือจิตส่วนสัญญา ที่เป็นส่วนจำได้อย่างเดียว ไม่ได้มีหน้าที่ส่งผล แต่เมื่อกล่าวเช่นนี้ ก็อาจมีความสงสัยว่า “แล้วฐานบุญ หรือคลังบุญ อยู่ตรงไหน เป็นอย่างไร?” 
..
หากกล่าวถึงระดับปรมัตถธรรม ก็อยู่ในสภาพกระแสพลังงานที่มีคุณลักษณะที่เป็นฝั่งกุศล แต่หากมองเห็นให้หยาบลงมาเป็นสภาวสัจจะ คือเห็นเป็นรูปร่างหน้าตาได้บ้าง จิตรู้เขาก็แปรคลื่นพลังงานให้พ้องกับความเข้าใจของมนุษย์ ทำให้บางคราได้เห็นการแสดงภาพเป็นอ่างน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำใสบริสุทธิ์ เป็นการแสดงให้เห็นในเชิงสัญลักษณ์ เพราะน้ำใสบริสุทธิ์คือเปรียบดังบุญ ที่เมื่อทำแล้วจิตมีความผ่องใส
.
คนไหนที่ฐานบุญน้อย หากเห็นในจิตในแบบนิมิตหรือสภาวสัจจะ ก็จะเห็นเป็นแค่ชาม มีน้ำใสใส่ไว้ บางคนที่เคยมีบุญมากแต่กระแสบุญใกล้จะหมด ก็จะเห็นเป็นโอ่งขนาดที่ใส่น้ำตั้งวางไว้หน้าบ้าน แต่น้ำใสในโอ่งนั้น พร่องมาก 
ฐานบุญแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะในแต่ละภพชาติ สะสมบุญกุศลมาต่างกัน บางคนเห็นเป็นแค่ชามเล็กๆ มีน้ำใสอยู่ในชาม บางคนเป็นโถแก้ว บางคนก็มีฐานบุญมากก็เห็นเป็นโอ่งใหญ่ แต่หากฐานบุญใหญ่จริงๆ จะมองไม่เห็นภาชนะเลย เพราะใหญ่โตเกินจะเห็นได้


สำหรับคนที่ไม่ทำบุญกุศลหนุน น้ำในโถก็พร่องไปเรื่อยๆ นี่คือการแปลงสัญญาณให้เข้าใจในแบบนิมิต
..
“กระแสบุญหนุนนำ”
.
อาจารย์เคยเห็นในจิตเป็นสภาวะ น้ำถูกเทลงมาจากภาชนะ แต่ไม่เห็นว่าภาชนะเป็นอย่างไร ซึ่งเข้าใจว่านั่นคือสภาวะบุญหนุนนำ คือเมื่อประสบภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อบุญสะสมไว้มาก บุญก็จะมาหนุนนำช่วยชำระปัดเป่าภัยใดๆ ให้เบาบางลงได้ หรือส่งเสริมให้ทำสิ่งใดให้สำเร็จ สำหรับผู้ที่มีบุญหนุนนำอยู่เนืองๆ แต่ไม่ทำกุศลอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้น้ำในภาชนะบุญนั้นพร่องไปมาก ก็คือสภาวะบุญเกื้อหนุนใกล้หมด ทีนี้พอเสวยอกุศลกรรมวิบาก ไม่มีอะไรมาช่วยบรรเทาได้ ต้องรับไปเต็มๆ 
..
ตอนที่ศิษย์ต่างชาติมีวิบากหนัก แม้จะแบ่งบุญจากการสอนวิปัสสนาให้อย่างไร เขาก็รับบุญนั้นได้น้อยนิด เพราะฐานบุญเขาน้อยมาก เหมือนน้ำฝนเทลงมาจากฟากฟ้า แต่ตัวเองมีเพียงชามข้าวชามเดียว เทให้อย่างไรก็รับบุญได้นิดเดียว จึงต้องให้ขยายฐานบุญขึ้นมา ด้วยการให้เพิ่มการทำกุศลด้วยจิตศรัทธา ตอนนั้นกำลังมีงานผ้าป่าที่หาดใหญ่ อาจารย์ก็บอกเขาว่า ให้ไปหาซื้ออาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์ด้วย เพราะทุกรูปนั้นก็เป็นพระสุปฏิปันโน จะได้ขยายฐานบุญให้แก่ตน 
เวลาศิษย์ประสบวิบากหนักแล้วมาขอให้ช่วย การจะช่วยก็ต้องช่วยบูรณาการทั้งระบบ คือ 
1.ช่วยอย่างเร่งด่วนเพื่อพยุงประการหนึ่ง ซึ่งต้องใช้พลังของอาจารย์ลงไปช่วย
2.ช่วยชี้แนะการปรับฐานบุญให้ใหญ่ขึ้น คือการให้ทำบุญ ทั้งการภาวนาและการทำทาน 
3.ช่วยให้เขาหยุดยั้งการทำบาปคือให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ฐานบุญที่เหลืออยู่น้อยนิด รั่วออกไป
..
“บุญที่ทำสำเร็จแล้ว/กรรมที่ทำสำเร็จแล้ว ส่งผลอย่างไร?”
.
บุญ นั้นคือกระแสพลังงาน เพิ่มได้ ลดได้ แต่จะลดหรือเพิ่มไปแค่ไหน ก็มักจะไม่ลดหายไปจนหมดสิ้น เพราะอย่างน้อยที่สุดจะเหลือส่วน “บุญที่ทำสำเร็จแล้ว” เป็นทุนไว้
ตัวอย่าง มีศิษย์อาสาทำหน้าที่ออกไปสอนธรรมขั้นต้นให้แก่นักเรียนนักศึกษา เมื่อสอนเสร็จก็ถือว่า “บุญที่ทำนั้นสำเร็จแล้ว” คือมีผู้ได้รับฟังได้รับธรรมและแรงบันดาลใจในการเป็นคนดี บุญนี้ก็ไปสะสมอยู่ในฐานบุญของผู้มีส่วนร่วมทุกคนแล้ว
.
ต่อมา ผู้ที่ไปสอน มานั่งคิดว่า เรานี่หนอช่างใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าเหลือเกิน ได้มีโอกาสสร้างกุศล ได้ทำคุณงามความดีให้แก่พระศาสนาและสังคม จิตเกิดปีติ มีศรัทธาฟูขึ้นมา กระแสบุญนั้นก็เพิ่มขึ้นได้ เพราะกระแสพลังงานนั้นไปเชื่อมกับกระแสพระรัตนตรัย ทำให้จิตยกระดับขึ้นมาสู่ที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก 
.
แต่ต่อมา สมมติว่า เขาเกิดพลาดพลั้ง เปิดช่องให้กิเลสทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่หนักแน่น ขาดโยนิโสมนสิการ เผลอมีจิตอกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ เพียงเพราะฟังคนวิพากษ์วิจารณ์ กล่าวหาว่า เตโชวิปัสสนา ไม่มีในพระไตรปิฎก และยิ่งหากผู้วิจารณ์เป็นผู้มีเครื่องแบบ ก็รุดเชื่อที่เครื่องแบบ แต่กลับไม่เชื่อผลที่ตนปฏิบัติ หรือไม่เชื่อปัจจัตตังที่เกิดในตน แม้จะบอกชัดว่า ชื่อนี้คือชื่อเทคนิคการปฏิบัติวิปัสสนา ในแบบสติปัฏฐานสี่ เหมือนเทคนิค พุทโธ หรือยุบหนอพองหนอ ซึ่งการจะดูว่าหลักการปฏิบัติถูกหรือไม่ ต้องดูที่ผลลัพธ์ …ผู้ที่เป็นบัณฑิตหรือผู้ถึงธรรมแท้ จะไม่วิพากษ์อะไรที่ตนไม่รู้แท้ว่าคืออะไร ปฏิบัติไปแล้วส่งผลอย่างไร แค่ได้ยินชื่ออย่างเดียวก็วิจารณ์เลย นี่ต้องหันกลับไปสงสัยผู้ที่ทำเช่นนั้นเหมือนกันว่า เขาเป็นบัณฑิตหรือถึงธรรมแท้แล้วจริงหรือ 
.
ทีนี้พอหลงเชื่อเข้า ก็เลยดูหมิ่นธรรมที่ครูบาอาจารย์อบรมสอนสั่งให้ จนตนเปลี่ยนไปมากสู่ความดีงาม และเป็นบ่อเกิดแห่งความดีงามได้ พอมาคิดถึงครั้งที่ตนได้ออกสอนธรรม ก็ไม่มีจิตปีติปราโมทย์อีกแล้ว เพราะไปสร้างกำแพงว่าที่เคยไปสอนนั้น ไปในนามของครูบาอาจารย์ที่ตนไม่ศรัทธาเสียแล้ว ความปีติปราโมทย์หาย กระแสบุญที่เคยทำก็ลดลงไปด้วย เพราะปีติเป็นการแสดงผลของฝั่งบุญที่นำไปสู่การหลุดพ้น แต่แม้กระแสบุญจะลดลงอย่างไร ก็จะลดลงในแบบเหลือติดก้นชาม เพราะความจริงที่ได้ออกสั่งสอนธรรมไว้ สำเร็จไปแล้ว แต่ก็กลับได้อกุศลกรรมในการปรามาสหมิ่นธรรม เพิ่มเข้าไปสู่อีกฟากนึง คือไปเพิ่มบาป กลายเป็นอกุศลวิบากที่จะได้รับผลเช่นกัน
นี่คือ การอธิบายเรื่องฐานบุญ
.
ฐานบุญกับ มหัศจรรย์ แห่งโพชฌงค์ 7
.
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนถึงการบรรลุธรรม ต้องประกอบด้วย
โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติ คือความระลึกได้

2. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม การคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน 
3. วิริยะ คือความพากเพียรในสิ่งที่เป็นกุศล
4. ปีติ ความอิ่มเอิบใจ

5. ปัสสัทธิ ความสงบระงับใจ
6. สมาธิ จิตที่ตั้งมั่น

7. อุเบกขา จิตที่ละความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ ซึ่งเป็นกิเลส คือความโลภ โกรธ หลง เป็นจิตที่มีความเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวในทุกข์และสุข

มีการบันทึกพระพุทธวจนะว่า
“ภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น ไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ ( ความรู้แจ้งและการหลุดพ้น) “
“ภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์ 7 ประการ เป็นธรรมทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นทางแห่งความคับแค้น เป็นเพื่อนิพพาน”
..
จะเห็นว่า การบรรลุธรรมนั้น จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลย เพราะแต่ละข้อนั้น มีความหนุนเนื่องถึงกันหมด แม้เพียงการขาด ปีติที่เรามักไม่ค่อยให้ค่าให้ความสำคัญ แต่ก็ทำให้สะพานแห่งการบรรลุธรรมขาดลงได้ เพราะฐานบุญที่สะสมไว้รั่ว ที่รั่วก็เพราะขาดธัมมวิจยะ คือไม่รู้จักเลือกเฟ้นว่าสิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดควรให้ความสำคัญ สิ่งใดควรละเสีย
พระพุทธองค์ทรงจำแนกธรรมไว้อย่างมหัศจรรย์ น่าอัศจรรย์เหลือประมาณ มิอาจหาคำใดมากล่าวสรรเสริญพรรณนาได้ 
.
ผู้หมายมั่นการบรรลุธรรม จะมุ่งให้ค่าให้ความสำคัญกับข้อใดข้อหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้เลย จริงอยู่ ในการเริ่มต้น ก็อาจต้องเริ่มไปทีละข้อ หรือมุ่งไปข้อหนึ่งเพื่อเป็นสะพานไปสู่ข้ออื่นๆ แต่ยามที่ธรรมจะส่งผลอย่างสมบูรณ์ ต้องส่งผลหนุนเนื่องกันไปจนเต็มทุกข้อ ดั่งที่ทรงสอนไว้ในโพชฌงค์ 7 จะมุ่งแต่ภาวนาแต่ไม่รักษาศีลก็ไม่ได้ จะหนักแน่นในศรัทธาแต่ขาดธัมมวิจยะก็ไม่ได้ จะประพฤติธรรมแต่ไม่มีจิตผ่องใสไม่เกิดความปีติปราโมทย์ ธรรมก็จะส่งผลสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะแสดงว่ามีนิวรณ์ 5 คือศัตรูมาคอยกางกั้นอยู่ นี่คือธรรมในแบบบูรณาการ คือยกพลังขึ้นไปกันทั้งหมด
..
รักษาฐานบุญที่ทำไว้แล้วให้ดีเถิด อย่าให้ตุ่มบุญรั่ว หากมันรั่วก็หันมาพิจารณาว่ารั่วเพราะอะไร ใจเราพร่องหรือไม่หนักแน่นมั่นคงในข้อไหน แล้วอุดรอยรั่วนั้นเสีย หาไม่แล้ว สิ่งที่เพียรทำมานานก็จะได้รับผลน้อย แถมยังไปเพิ่มบาปกรรมามาแทน
.
การบรรลุธรรมคือการรู้แจ้งในอวิชชา คือแจ้งในความล่อลวงในโลกียมายาทั้งหมด ทำให้เข้าถึงสภาวะการ “รู้แจ้งเห็นจริง” 
สังขารการปรุงแต่งที่สิ้นไป คือสังขารที่ก่อให้เกิดตัณหา อันเป็นที่อยู่อาศัยของกิเลส เมื่อสิ้นตัณหาก็จะไม่ก่ออกุศลกรรมและไม่หลงปรุงแต่งอีก เพราะสิ้นกิเลสแล้ว ส่วนกรรมที่เคยทำไว้ก่อนหน้ายังตามส่งผลได้อยู่ เพราะกรรมนั้นสำเร็จแล้ว และกายสังขารยังอยู่ก็มาส่งผลต่อกายสังขาร ต่อเมื่อละสังขารหรือนิพพาน ก็เป็นผู้สูญสิ้นกรรมถาวร ไม่มีเชื้อสังขารใดทำให้กลับมาเกิดอีก
.
อย่ามัวสงสัยเรื่องของคนอื่น เพ่งกิเลสคนอื่น เขาก็ยังมีกิเลสก็ย่อมต้องพลาดได้ ต้องสงสัยตัวเอง เพ่งโทษกิเลสตัวเองให้มากว่า เหตุใดเราจึงยังอยู่ตรงนี้ “การรู้แจ้งเห็นจริง” ที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางไว้แล้ว พ่อแม่ครูบาอาจารย์อบรมสอนสั่งไว้ดีแล้ว ทำไมจึงจะทำให้แจ้งไม่ได้ นี่เพราะเราขาดความหนักแน่นมั่นคงใช่หรือไม่ ทางเจอแล้ว จิตเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแล้ว แต่เมื่อไม่หนักแน่นทำให้สุดทาง ก็จะย่อมติดวน 

ถูกกิเลสหลอกไม่จบสิ้น 

บุคคลผู้มีใจโน้มนำในธรรมนั้น ล้วนมีสติปัญญามีวาสนา มีฐานบุญหนุนนำมาต่างกัน และรอเวลาสะสมบุญหรือบารมีให้เต็ม แต่สุดท้าย ก็มาตายที่ความไม่หนักแน่นนั่นเอง จึงมักได้แต่เก่งอยู่ในโลกที่เป็นกรงขังแห่งวัฏสงสาร แต่จิตวิญญาณต้องท่องอยู่ในวัฏฏะเป็นอนันตชาติอยู่เช่นนี้ เพราะไม่หนักแน่นในทางที่พามุ่งสู่นิพพาน
.
Make Destination = O 
ทำระยะทางที่ถึงเป้าหมายให้เป็นศูนย์เสียที จะได้จบสิ้นการเดินทาง
มุ่งหน้าสู่นิพพานได้แล้ว หลงท่องอยู่ในวัฏสงสารนานแล้ว
เดินทางสู่จุดหมายให้สิ้นสุด ล๊อกเป้าหมายไว้ให้แม่นให้มั่นคง
อย่าให้สิ่งใดมาเปลี่ยนจุดหมายได้ 
..
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
25 เมษายน 2018


Discover more from The Buddhists News

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

The Buddhist News

FREE
VIEW