Better Finding Yourself than Finding Faults “ถ้อยคำจากท่านอาจารย์”

Questions and Answers, Volume 19 “เคล็ดวิธีตีปัญหาฉบับที่ 19”
September 15, 2019
“Forgotten Chance” ‘โอกาสที่ถูกลืม’​
September 15, 2019

Better Finding Yourself than Finding Faults “ถ้อยคำจากท่านอาจารย์”

.

Finding faults in others is sending out your mind to look for trouble. Finding yourself is seeing yourself to end all trouble.

Those always finding faults in people only burn themselves with fire in their heart, not knowing they are being deceived and dragged down by the devil inside them. Finding faults is about an attempt at every opportunity to look for a mistake from people we don’t like so that we can use it against them for selfish pleasure and our own justification.

.

Finding faults is different from finding facts. Finding facts is when you look for facts and figures based on principles without bias and see the mistake because it’s there. But you’re solely influenced by bias when you try to find faults in others. The more you look for it, the more you see it. That’s because your mind is already discriminating.

..

Let me give you one example. I used to be the target of allegations from wayward Vipassana students following their inappropriate and immoral behaviors which resulted in direct reprimand from me. Their Ego was too bruised to admit their mistakes although their wrong views were leading themselves and other students astray. Instead of trying to fight their own demons, they turned against their teacher who had given them a new life spiritually. Whatever goodness their teacher had done for others and Buddhism, they managed to see it otherwise. Even a donation to hospital was seen as putting on a facade. All the while they saw nothing wrong in breaching the Five Precepts, breaking their own vow, and even becoming ungrateful to their teacher.

..

When I almost lost my life from overworking and pushing my body’s limits in Vipassana meditation and Buddhism campaign works, it was basically no difference from “overwork death” in ordinary people. I wonder what more allegations they would come up with now that they have seen the double Sun halo phenomenon on the day I was supposed to die and the day my life was extended, and the arrival of Buddha’s relics. But what’s certain is that whenever they head to and from the Suvarnabhumi Airport, their mind will burn with agony seeing the giant Knowing Buddha Organization billboards. After all the person who comes forward to protect Buddhism is their own teacher _ the target of their animosity.

.

This is finding faults in others. It brings nothing but anguish and endless, painful consequences.

Their eyes are blinded to goodness; virtue seen as evil, evil as virtue. People who always find faults in others are poor abnormal people. Every breath they take is for accumulating sins. They truly live in sin.

Naturally, anyone in his right mind must have spotted their demons when they look within to find themselves. Those people therefore should have noticed some changes; why they became ungrateful, the heart hardened toward their teacher.

..

All Vipassana students who came here was mere strangers. They were neither my relatives nor my children. But because of one piece of paper, the application form stating their wish to learn the Vipassana meditation, I took them under my wings, giving them everything from food and sleeping place to Dhamma and my life energy. Many lives were transformed right there within the seven days of meditation.

Isn’t gratitude the character of a high minds? If so, where is it? Why couldn’t we appreciate everything we have received? Why do we try to find faults in our teacher to justify the loss of respect?

.

Sariputta, the Buddha’s Right-hand Disciple, was renowned for his gratitude. When he was still a layman, he met Assaji, one of 60 Buddhist monks sent by Buddha to spread Buddhism. Upon hearing Dhamma from Assaji, he reached the first stage of enlightenment. When he entered monkhood, he still paid respect to his first teacher every night by bowing down his head in the direction where Assaji was. This continued even after his high status.

..

This is what great gratitude is. Luangpu Jiah Junto, a highly revered monk in Thailand, once imparted this sermon to me that “The money in the bank. (If you) make a withdrawal everyday, it will be gone someday”. He then taught me briefly on how to meditate. The whole encounter was less than 15 minutes but I have since considered him as my Master. This is the quality of the Nirvana Mind…firm in gratefulness. Nobody could rob this character from them because they experience the changes within by themselves.

Alas…People nowadays lack steadfastness. They cannot hold on to goodness; their mind always spiraling downward . That’s because they don’t look at themselves but keep looking outside, sometimes, even finding faults in other people. They flip in a second at a small criticism behind their back.

Ask yourself. Are we practicing Dhamma to be good or bad? Now you’re a Vipassana meditator, do you still need a preacher on gratitude? Can’t you teach yourself?

..

A fundamental virtue…and you still cannot keep it. What else can you hold on to?

Gratitude is taught in the elementary school, not in the class of grown-ups. But now it is being taught to adults. What does this mean? Does it mean the human mind is in so much regression? And are we going to be one of them too? Ask yourself.

..

Keep finding faults in your mind. Does any bad thoughts surface? Can we keep our gratitude? Are we becoming mean lately? Go through your mind as if you were your own guard. See if your mindfulness, gratitude, firm mind are still there. Is there any improvement or not?

How many lifetimes have we made mistakes? We have failed to take care of our mind, moving from one body to another. New attachments in the new body. We get swept away in the waves of illusion, trapping our soul deeper and deeper into the abyss of Wheel of Rebirth. It’s nobody’s mistake but ours. But all we need to do is keep ourselves from all wrongdoings. Do no sin.

.

A life full of happiness and good luck is possible when you stay away from bad people and all wrongdoings, have gratefulness, and always strive to be the best person inside and out. Such a life does not come from making a wish. Keep finding yourself. Be your own spirit’s guard. Then the happiness and Nirvana you search for will unfold in front of you.

…….

Vipassana Master Acharavadee Wongsakon

9 October 2017

……

Note: In Thai culture, a sun halo is considered to be happening only on a great, auspicious occasion such as birth of King, the departure or arrival of great spiritual leaders and sages.

………………………………………………………

เพ่งใจ…ดีกว่าเพ่งโทษ

“ถ้อยคำจากท่านอาจารย์”

การเพ่งโทษคนอื่น คือการส่งจิตออกไปหาความทุกข์ใส่ตัว แต่การเพ่งใจตนเอง เป็นการส่งจิตเข้าเพื่อดับทุกข์ของตัว

..

ผู้มีนิสัยชอบเพ่งโทษ จะทำให้จิตมีแต่ความรุ่มร้อนใจ และไม่รู้ว่าตนกำลังถูกกิเลสหลอกไปเชือด ดึงจิตให้ตกต่ำลงไปเรื่อยๆ

การเพ่งโทษ คือการจดจ้อง คอยหาช่องจับผิดว่า คนที่ตนไม่ชอบหรือคอยหาเรื่องว่า จะทำอะไรผิด เพื่อให้ตนได้เอาไปพูดเหยียบย่ำทำลาย เพื่อความสะใจ และเพื่อหาความชอบธรรมให้แก่ตัวเองในการมุ่งทำลายบุคคลผู้นั้น

การเพ่งโทษ ต่างจากการหาข้อเท็จจริง การหาข้อเท็จจริง เป็นการทำตามหลักการโดยปราศจากจิตอคติ และเห็นการกระทำผิดตามความจริงที่ปรากฏ แต่การเพ่งโทษ มีอคตินำล้วนๆเพื่อประโยชน์ของตน

ยิ่งเพ่งก็ยิ่งเห็น เพราะจิตมันเอียง ทำให้หาเรื่องไปได้ทุกอย่าง

.

อาจารย์จะขอยกตัวอย่าง ที่อาจารย์ถูกเพ่งโทษจากบรรดาศิษย์อกตัญญู ที่เมื่อถูกตำหนิจากความผิดที่ตนทำตรงตัวก็ไม่พอใจ พลิกกลายเป็นศิษย์เนรคุณ โดยการคอยจาบจ้วง หาทางเพ่งโทษอาจารย์ เพียงเพราะโดนสะกิดอัตตา ที่ตักเตือนการกระทำที่หลงผิด ทำผิดและหลงชี้นำผู้อื่นในทางที่ผิด เมื่อไม่สามารถเอาชนะรากเหง้าของความเลวที่อยู่ในจิตได้ ก็ตั้งตนเหยียบย่ำใส่ร้ายและทำร้ายครูบาอาจารย์ที่ให้ชีวิตใหม่แก่ตน สิ่งใดที่อาจารย์ทำเพื่อความดีงามแก่ผู้อื่น และพระพุทธศาสนา ก็เอามากล่าวหาเพ่งโทษได้ไปทุกเรื่อง ขนาดบริจาคเงินให้โรงพยาบาล ก็กล่าวหาว่าสร้างภาพ แม้ตัวเองทำบาปทำผิดศีล อกตัญญู ไม่รักษาคำสัตย์ ทำตนไม่มีคาราวะธรรม ก็ไม่คิดจะดูตนเอง มองไม่เห็นความผิดของตน

..

ตอนที่อาจารย์สิ้นอายุขัย เพราะทุ่มใช้พลังมากเกินไป หากเปรียบเป็นคนธรรมดาก็คือคนเหนื่อยมากจนตายก่อนอายุจริง ก็ไม่รู้ว่าไปกล่าวหาว่าเพราะทำไม่ดีหรือเปล่าจึงสิ้นอายุเร็ว แต่หากได้เห็นพระอาทิตย์ทรงกลดสองชั้น ทั้งวันสิ้นอายุ ทั้งวันต่ออายุและได้เห็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา เพื่อโอบอุ้มธาตุขันธ์ที่เสียสละจนลมหายใจสุดท้าย ก็ไม่รู้ว่าไปใส่ร้ายอะไรได้อีก แต่ที่แน่ๆ คือ เมื่อใดที่คนเหล่านี้เดินทางไปเส้นสนามบินสุวรรณภูมิทั้งขาเข้าและขาออก เห็นคัตเอาท์เมกะแบนเนอร์หยุดยั้งการลบหลู่พระพุทธศาสนา ที่ยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติ คงมีจิตใจร้อนรุ่ม เห็นแบนเนอร์รูปพระบรมศาสดาราวกับเห็นศัตรู เพราะผู้ออกมาปกป้องพระบรมศาสดา คือครูบาอาจารย์ที่ตนกำลังมุ่งขัดขวางและทำลาย

นี่คือตัวอย่างการเพ่งโทษที่นำมาแต่ความทุกข์ใจ และก่อภัยเวรให้แก่ตนเป็นอเนกอนันต์

..

สิ่งใดที่เป็นคุณ ก็ถูกปิดตา บิดใจ มองเห็นดีเป็นเลว เลวเป็นดี ก่อภัยเวรอย่างไม่จบสิ้น

คนเพ่งโทษ เป็นคนผิดปกติที่น่าสงสาร เพราะเขาหายใจเพื่อจะสะสมกรรมทุกเมื่อเชื่อวัน เขามีชีวิตเพื่อสะสมบาปโดยแท้

..

การเพ่งใจตนเอง ผู้ที่ยังมีความดีเหลืออยู่บ้าง ย่อมต้องสังเกตจิตผิดปกติของตน คืออกุศลจิต ย่อมเห็นว่า เหตุใดเราจึงสิ้นไร้ความกตัญญู เหตุใดจึงมีจิตหยาบกระด้าง ต่อครูบาอาจารย์ผู้เกื้อกูลตนด้วยความเมตตาปราณีอย่างที่สุด ศิษย์ทุกคนนั้น แรกมาถึงก็เป็นเพียงคนแปลกหน้า ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ลูก ด้วยกระดาษใบเดียวที่เขียนสมัครอยากเรียนวิชา ครูบาอาจารย์ก็โอบอุ้มเกื้อกูลทุกอย่าง ท่านเมตตาจัดหา ให้ข้าว ให้น้ำ ให้ที่อยู่อาศัย ให้ธรรม อบรมบ่มเพาะให้ด้วยพลังของท่าน ด้วยเสียงของท่าน ด้วยชีวิตของท่าน จนได้ชีวิตใหม่ จากผู้เคยมืดก็กลับมาสว่าง ก็ความกตัญญู เป็นคุณสมบัติของคนดีมิใช่หรือ แล้วเหตุใดจิตกตัญญูของเราจึงหายไป

บุญคุณของท่านเห็นปานนี้ เหตุใดจึงมุ่งเพ่งโทษครูบาอาจารย์เพื่อหาความชอบธรรม

ในการที่จะไม่เคารพนับถือท่านอีกต่อไป

นั่นก็เพราะจิตมืดบอด จึงมีแต่การเพ่งโทษ

..

พระสารีบุตร เมื่อสมัยที่ท่านยังไม่ได้บวช ท่านได้ฟังคำสอนของพระบรมศาสดาจากพระอัสสชิ ว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงตรัสถึงเหตุนั้น”..เพียงเท่านั้น ท่านก็มีดวงตาเห็นธรรม และเมื่อบวชก็ได้เป็นถึงพระอัครสาวกเบื้องขวา แต่ทุกคืนก่อนนอน ท่านจะหันศรีษะไปกราบยังทิศที่พระอัสสชิ นอนอยู่ ด้วยความรำลึกถึงพระคุณของพระอัสสชิ ผู้เป็นครูบาอาจารย์คนแรกของท่าน

..

นี่คือยอดยิ่งความกตัญญู อาจารย์เอง ได้รับคำสอนสั่งจากหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ว่า “มีเงินอยู่ในธนาคาร เบิกใช้ทุกวันเมื่อไหร่ก็หมด” และท่านก็สอนคร่าวๆ ถึงหลักการนั่งสมาธิ เพียงได้อยู่ต่อหน้าหลวงปู่เจี๊ยะไม่ถึง 15 นาที อาจารย์ก็นับถือหลวงปู่เจี๊ยะ เป็นครูบาอาจารย์…นี่คือคุณสมบัติของผู้ที่ถึงนิพพาน หนักแน่นในความกตัญญู ไม่มีผู้ใดมาปล้นมาเป่าหูได้ เพราะเราเองคือผู้ประสบปัจจัตตังนั้น เราเองดีขึ้นมาได้ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์นั้น แต่ในสมัยนี้ ขาดความหนักแน่นกันเหลือเกิน สิ่งใดที่เป็นความดี มักยืนหยัดรักษาไว้ไม่ได้ จิตคอยแต่จะไหลไปเป็นทาสกิเลส เพราะไม่เพ่งใจตนเอง แต่ไปเพ่งแต่โลกข้างนอกและอาจเลยเถิดไปจนถึงเพ่งโทษ หากมีใครพูดใส่ร้ายเพียงนิดเดียว ก็ไหลหลงคิดตาม ความดีที่คิดว่าตนมีก็ปลิดปลิวราวขนนก

พึงถามตัวเอง เราจะปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นคนดีหรือคนเลว

เมื่อเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว ยังจะต้องให้ใครมาพร่ำสอนเรื่องความกตัญญูอีกหรือ สอนตนเองไม่ได้หรือ

คุณธรรมสำคัญ ยังยึดไว้ไม่ได้ แล้วจะยึดอะไรเป็นสรณะได้

ความกตัญญูนี่ เขาไว้สอนปลูกฝังเด็กเล็กนะ ไม่ใช่สอนผู้ใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้กลับต้องพูดสอน มันหมายถึงอะไร หมายถึงจิตมนุษย์ตกต่ำลงไปมากใช่มั้ย แล้วเราเป็นคนมีจิตใจตกต่ำหรือเปล่า ต้องถามตัวเองดู

..

เพ่งพินิจจิตตนเสมอ จิตเรานี้มีอกุศลเกิดขึ้นหรือไม่ จิตเรานี้ รักษาความกตัญญูไว้ได้หรือไม่ เรามีความกระด้าง ไหลลงสู่ที่ต่ำหรือไม่ การสำรวจเพ่งจิตเพ่งใจ เสมือนเป็นยามเฝ้าตัวเอง สำรวจความรู้ชัด กตัญญู อุเบกขา ว่าอยู่ครบ เจริญขึ้นหรือตกต่ำลง

.

กี่ภพ กี่ชาติแล้ว ที่เราพลาดมา ที่เราไม่ดูแลจิตเดิม มาอยู่ในร่างใหม่ เข้าสู่การปรุงแต่งในยุคใหม่ ก็ไหลหลงเพลินไปกับสมมติลวงใจ ทำจิตติดกรงขังในวัฏสงสารลึกลงไปเรื่อยๆ กำแพงสูงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หาใช่ใครเลยที่ทำ เราเองที่เป็นผู้พลาด ใครทำผิด ทำบาป ก็เป็นบาปของเขา ไม่ใช่ของเรา ขอให้เรารักษาใจอย่าให้ผิด อย่าให้บาป

..

ความสวัสดีและมงคลแก่ชีวิต จักเกิดได้ด้วยการไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่เป็นคนผิด คนบาป เกิดได้ด้วยการรักษาจิตกตัญญู ทำความดีให้ถึงพร้อม หาใช่ด้วยคำอธิษฐาน จงสำรวจตน เป็นยามรักษาใจตนอยู่เสมอ จึงปลอดภัย สวัสดี และได้นิพพานสมบัติแน่นอน

..

อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

9 ตุลาคม 2017

—————————————

%d bloggers like this:
The Buddhist News

FREE
VIEW