Merit making on the major Buddhist holy day

Heroes to remember in the plight of 13 lives in Tham Lung Caves
July 2, 2018
Consequence of Not Appreciating Others’ Kindness
July 17, 2018

Merit making on the major Buddhist holy day


Why does it bring greater virtue?

Most of us are so familiar with the word “major Buddhist holy day” but we may not know the origin of the word. So I
would like to share with you some information from Wikipedia, as followings:
“Buddhist holy day” or “Buddhist Sabbath” or “Buddhist observance day” mean the day that Buddhists assemble to do
religious activities as a weekly routine. The “Dhammassavana” or “Buddhist Sabbath day” is also the day that Buddhists
hold the precepts and listen to Dhamma teaching (Dhammassavana means hearing the Dhamma). According to lunar
calendar, there are four days in a month that are Buddhist holy day namely; the first-quarter moon, the full moon, the
third-quarter moon and the new moon (for the month of odd number, the new moon is on the last day of the lunar month).
In the early period of Buddha time, the holy day was traditional practice of the Paribbhajakas (the non-Buddhism
priests)… Buddha had not set the rules in this practice yet. Then King Bimbisara went to see the Buddha to inform him
that other religions had assembling days to discuss on their teachings whereas Buddhism did not have. Therefore, the
Buddha allowed monks to assemble on the 8th and 15th day of the lunar month. On these days, monks could also discuss
and teach Dhamma to people. In Tipitaka, these holy days are called Uposatha day (the first-quarter and the third-quarter
moon) or the religious service day in the chapel (the full moon and the new moon), depending on circumstances.
Merit making on the Buddhist major holy day will bring greater virtue than other ordinary days because Dhamma energy
is more intense than other days. With every dimension of energy level; the Brahma world, the heaven world, the human

world, all are attentive to the virtuous side which helps strengthen Dhamma power. Hence, those who focus their mind on
the virtuous side on the day will obtain greater merit as well.
For example, when laypeople do their routine activities on normal day, hundred of emotional issues are seasoned in their
mind. They don’t have true intention to keep precepts and not being careful in thinking negatively to other people. At that
moment, the worldly current is very strong with the energy or atmosphere or vibration from most people who follow the
same mental flow. Those laypeople who may think of keeping precepts but when seeing friends having drinks, they can’t
resist and join their friends. This is due to the lack of power to resist kilesa.
On the major Buddhist holy day, most Buddhists become alert and think of the great kindness of the Buddha and his
teachings, they want to make merit for their life. The mind energy of several hundred million people is on the same
direction, giving strong vibration to the virtuous side. This helps strengthen the mind of those who intend to hold precepts
and do good things so they can resist kilesa and control their mind. When these people do good deeds, the Dhamma
power will raise their merit to higher level. The virtuous current which gathers people into the same circle lifts up even
the merit made with little effort.
To make it clearer, it may be compared with the worldly matter; the most popular TV drama series “Buppesanniwas”
(The Love Destiny). It was so popular across the whole nation and people waited to see every scene in every episode.
Media published news about the series every day. Those who involved with its production had gained benefits, become
famous and received plenty of opportunities in their life. Normally, only leading actor and actress in the drama series will
become popular. But for this one, there is a long list of those who gained benefit namely; the author, the script writer, the
producer, the leading and second leading actors and actresses, all supporting actors and actresses, even those who showed
up in only few scenes. These are all driven by the strong current of forceful energy.
On Dhamma side, even a minor involvement during the strong current of energy such as chanting, giving for charity, the
merit will be strengthened. For a good deed with more efforts and strong determination, such as holding the precepts,
meditation practice, help protecting Buddhism with intention to repay to the Buddha, including the merit offering to the
king and the noble ones, the virtue will be uplifted by Dhamma current to the greater level. It will also be accumulated as
the foundation of merit in the mind, enabling the mind to become stronger with determination to do only good things
which will cultivate the perfections in the mind.
This article is based on the fact in the current of energy because the whole world is the current of energy. I don’t intend to
urge people to do merit only on major Buddhist holy day. Merit making should be done every day to maintain the
foundation of mind. That is to hold the precepts perfectly and it will bring good fortune to life. For those who don’t have
stable mind, they should at least do merit for three days during the major Buddhist holy day until the Buddhist Lent
period. They should also take time to review how they have lived their life, what kind of bad deed they have made, not to
blame others but to look at own’s weakness, carelessness and ignorance to kilesa. Then they should reset their life. If they
can’t do good things every day, at least they should make it throughout the period of Buddhist Lent.
The essence of this major holy day is for one to look into his own mind to see whether he has made any mistake or
become victim of kilesa. Can he stop going astray? Then with strong Dhamma current on this day, he should take the
courage to set the intention to stop doing sinful act but continue with goodness and purify his mind.

For long weekend, people always think of traveling. But on this major holy day, let’s focus the mind in merit to lead
yourself to the virtuous current as this life will have to travel in the cycle of rebirth for a long, long time.
For those who have no merit as foundation of life, the next wandering may be in the lower world.
Master Acharavadee Wongsakon
July 28, 2018

Translated by Siriporn Kuprasertsin

ทำบุญวันพระใหญ่ ได้อานิสงส์มากกว่าเพราะอะไร?

เราคงคุ้นเคยกับคำว่า “วันพระใหญ่” คุ้นเคยมากจนบางครั้งอาจไม่รู้ที่มาที่ไปว่าวันพระมีที่มาที่ไปอย่างไร
อาจารย์ขอยกข้อมูลมาจากวิกิพีเดียเพื่อเป็นความรู้ดังนี้
..
“วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง
วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์
หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม)
โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติโดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8
ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา)
…ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาลพระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้
ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของ
เขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15ค่ำ
และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว
โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี[1]”
..
การบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นวันพระใหญ่ จะมีพลังกุศลสูงกว่าวันธรรมดาอื่นๆ
เพราะกระแสพลังงานในวันดังกล่าว มีพลังธรรมสูงกว่าวันธรรมดาเนื่องจากในทุกมิติของชั้นพลังงาน คือระดับ พรหมโลก
เทวโลก มนุษย์โลก เกิดการตื่นตัวในการยังจิตให้เข้ามาอยู่ในฟากกุศลมากกว่าวันธรรมดา ทำให้พลังธรรมมีกำลังสูงขึ้น
ผู้ใดที่น้อมใจมาสู่ ฟากกุศลกรรมในวันนั้นกระแสจิตจะได้รับการยกพลังบุญกุศลให้สูงขึ้นไปด้วย
..
ยกตัวอย่าง ในวันธรรมดาขณะที่ฆราวาสทำภารกิจชีวิตตนเอง
ปรุงแต่งอารมณ์ร้อยเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาโดยไม่ได้ตั้งจิตว่าจะรักษาศีลอย่างจริงจัง และไม่ระวังจิตไม่ให้คิดอกุศลต่อผู้ใด
แต่ด้วยความที่กระแสพลังงานหรือบรรยากาศหรือ Vibration ณ เวลานั้น เป็นห้วงเวลาที่คลื่นโลกียะแข็งแกร่ง
เพราะคนส่วนใหญ่ในโลกก็ปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามวิถีนั้น พอคิดจะรักษาศีล เช่น ตั้งใจจะไม่ดื่มเหล้า
แต่พอตกเย็นเห็นเพื่อนๆ ตั้งวงสังสรรค์กัน ก็มีใจโลเลในที่สุดก็ไปดื่มเหมือนเดิม
เพราะขาดพลังหนุนในการทวนกระแสกิเลส
แต่พอมาถึงวันพระใหญ่ ชาวพุทธตื่นตัวมารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมศาสดาและพระธรรมคำสอน
เกิดอยากสร้างกุศลเป็นทุนชีวิตตนเอง คลื่นจิตของคนหลายร้อยล้านคิดไปในทางเดียวกัน

ทำให้คลื่นความถี่ในฟากกุศลมีพลังแรงกล้าขึ้น เอื้อให้ผู้ที่ตั้งใจรักษาศีล ทำความดี สามารถทวนกระแสกิเลสได้
เมื่อประกอบกุศลกรรม พลังธรรมนั้นก็ช่วยยกกำลังกุศลกรรมให้เกิดเป็นพลังบุญที่สูงยิ่งขึ้น
เป็นคลื่นกุศลที่พัดผู้ที่เข้ามาอยู่ในข่ายเดียวกัน ให้มีแรงลอยขึ้นสูงกว่าเดิมแม้ด้วยการทำความเพียรเพียงเล็กน้อย
..
หากจะให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบในเรื่องทางโลก ผ่านละครดังแห่งปีเรื่องบุพเพสันนิวาส
ละครเรื่องนี้โด่งดังทั่วประเทศ ผู้คนจดจ่อรอชมทุกฉากทุกตอนสื่อประโคมข่าวไม่เว้นแต่ละวัน
ทุกคนที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการสร้างละครเรื่องนี้
ก็ได้รับอานิสงส์แทบทั้งหมด ต่างมีชื่อเสียงและได้รับโอกาสในชีวิตตามมาอีกมากมาย
ตามธรรมดาเวลาละครเรื่องใดดังก็มักจะดังแต่คู่พระนาง
แต่ละครที่มีกระแสดังมากผู้ที่ได้รับคลื่นอานิสงค์ก็ขยายวงยาวเป็นหางว่าว นับแต่ผู้ประพันธ์ ผู้เขียนบท ผู้สร้าง คู่พระนาง
คู่พระรอง ผู้แสดงประกอบทั้งน้อยใหญ่ ขนาดโผล่มาไม่กี่ฉากก็ยังได้รับการกล่าวถึงไปด้วย
นี่คือผลจากการได้เข้าไปอยู่ในข่ายกระแสพลังงานที่มีแรงผลักดันสูง
..
ในมุมทางธรรม การเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาที่พลังธรรมแข็งแกร่งมาก แม้การมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยเช่น สวดมนต์ ทำทาน
บุญที่เกิดย่อมได้รับยกกำลังขึ้นไปด้วยคือได้อานิสงค์เพิ่มมากขึ้น
แล้วยิ่งหากมีส่วนร่วมในการกระทำที่ต้องใช้ความเพียรและเจตนาที่แน่วแน่ขึ้น อานิสงส์ก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีกมาก
เช่นการตั้งใจรักษาศีล การบำเพ็ญภาวนา บำเพ็ญคุณความดีต่างๆ ไปจนถึงการมีส่วนในการปกป้องรักษาพระพุทธศาสนา
เพราะมีเจตนาทำเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ไปจนถึงการทำบุญใดที่ถวายเป็นพระราชกุศลต่อพระมหากษัตริย์ อุทิศแด่บรรพบุรุษ ผู้มีพระคุณหรือต่อผู้ทรงศีล ทรงธรรม
ก็จะเกิดอานิสงส์เพิ่มพูน ด้วยพลังของกระแสธรรมที่เกื้อหนุนยกกำลังขึ้นไป
ทำให้จิตมีพลังกุศลสะสมไว้เป็นทุนในฐานจิตมากขึ้น และส่งผลต่อเนื่องทำให้จิตมีพล้งความดีที่เข้มแข็ง
อยากทำแต่ความดีจนก่อเกิดเป็นการสะสมบุญบารมี
..
บทความนี้เขียนในมุมข้อเท็จจริงในเชิงกระแสพลังงาน เพราะโลกทั้งใบนี้คือกระแสพลังงาน
ไม่ได้ชี้ช่องให้ทำบุญกุศลเฉพาะวันพระใหญ่ บุญนั้นพึงทำทุกวันโดยรักษาฐานให้มั่นคือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์
เป็นการสร้างมงคลให้เกิดแก่ชีวิต สำหรับผู้ที่จิตใจยังไม่หนักแน่นพอ อย่างน้อยที่สุดพึงทำกุศลวันพระใหญ่ 3 วัน
ไปจนถึงช่วงเข้าพรรษา ใช้ช่วงเวลานี้หันมาย้อนดูชีวิตตนว่า ได้พลั้งเผลอทำอะไรที่ไม่ดีเอาไว้บ้าง อย่าเพ่งโทษคนอื่น
ให้เพ่งความอ่อนแอ ความประมาทและความเขลาต่อกิเลสของตน แล้วปักหลักใหม่ให้ดี แม้เอาดีทุกวันยังทำไม่ได้
อย่างน้อยที่สุดก็ทำดีให้รอดตลอดพรรษา
.
สาระของวันหยุดช่วงวันสำคัญนี้เพื่อให้หันมาสำรวจจิตใจตนเองว่า ที่ผ่านมาได้พลาดหรือตกเป็นเหยื่อกิเลสเรื่องใดไปบ้าง
จะหยุดพลาดได้รึยัง แล้วพึงรวบรวมกำลังใจในวันที่พลังธรรมแข็งแกร่ง เพื่อตั้งใจหยุดทำบาป เพียรทำความดี
และชำระจิตให้บริสุทธิ์
วันหยุดยาวไหนๆก็มักคิดแต่เรื่องเที่ยว เทใจให้เป็นกุศลในวันหยุดสำคัญนี้เพื่อเข้ามาสู่ข่ายกระแสกุศลกันเถิด
เพราะชีวิตนี้ยังต้องท่องในวัฏสงสารอีกยาวนาน
หากไม่มีบุญเป็นทุนชีวิตเสียแล้ว ที่ต้องท่องต่อไปอาจหนีไม่พ้นการท่องไปในอบายภูมิ
..
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
28 กรกฎาคม 2018

Discover more from The Buddhists News

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

The Buddhist News

FREE
VIEW